วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“มท.1”สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลความปลอดภัยเข้ม ช่วงเทศกาลปีใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“มท.1”สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลความปลอดภัยเข้ม ช่วงเทศกาลปีใหม่

“อนุพงษ์”กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลด้านความปลอดภัย ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ควบคู่กับการควบคุมการแพร่บาดของโควิด-19

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.64  พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 และได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดมาตรการต่างๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ควบคู่ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อสร้างความอุ่นใจของประชาชน

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จากสถิติทุกปีที่ผ่านมา พบว่า ในวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าเพื่อต้อนรับศักราชใหม่ มักจะมีอุบัติภัยต่าง ๆ สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอยู่บ่อยครั้ง จึงได้สั่งการไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดำเนินการ

1. ด้านการเตรียมความพร้อม โดยกำชับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน เตรียมการป้องกัน และใช้ความระมัดระวังในการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยเป็นพิเศษ รวมทั้งห้ามเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง หรือการแสดงโดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effect) ในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการลุกลามของอัคคีภัยโดยเด็ดขาด  พร้อมทั้งกำชับให้ผู้อำนวยการแต่ละระดับ หรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการ ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่และวางระบบสื่อสาร พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นไปอย่างรวดเร็ว และทันท่วงที

2. หมั่นตรวจตราพื้นที่ชุมชน สถานประกอบการ อาคารหรือสถานที่ ตลอดจนวัสดุสิ่งของภายในและโดยรอบ รวมทั้งเส้นทางคมนาคมสัญจร โดยเฉพาะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ พื้นที่ริมตลิ่ง ความมั่นคงแข็งแรงของโป๊ะ ท่าเทียบเรือ และเรือโดยสาร หากพบมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ให้เร่งตรวจสอบ ซ่อมแซม ให้มั่นคงแข็งแรงตามอำนาจหน้าที่ และ 3) สร้างการรับรู้กระตุ้นให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง การปล่อยโคมลอย รวมถึงบทลงโทษต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือผู้ที่กระทำการประมาทเลินเล่อ ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักและหมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟต่าง ๆ ภายในบ้าน หากพบที่มีสภาพเก่า หรือชำรุด ให้รีบเปลี่ยน/แก้ไข เพื่อป้องกันเหตุอัคคีภัยจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในช่วงสภาพอากาศแห้ง

สำหรับในด้านการเผชิญเหตุ ให้บูรณาการร่วมโดยจัดชุดเจ้าหน้าที่ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ร่วมกับหน่วยราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเชิญชวนประชาชนจิตอาสา ร่วมเฝ้าระวังสถานที่ที่เสี่ยงเกิดอัคคีภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประชาชนนิยมเดินทางมาร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยให้เตรียมความพร้อมหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมอุปกรณ์ดับเพลิง และกู้ภัยในพื้นที่ที่จัดกิจกรรมในช่วงปีใหม่ หรือพื้นที่ชุมนุมชน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย อุบัติภัย เพื่อให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ทันทีที่เกิดภัยขึ้น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เฝ้าระวังความปลอดภัยและจัดระเบียบการจราจร รวมถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย   

 “ทั้งนี้ หากเกิดอัคคีภัย อุบัติภัยหรือสาธารณภัยอื่นที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ให้ดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และรายงานมายังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางทราบทันที และในขณะนี้ ยังคงอยู่ในช่วงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข โดยเคร่งครัด”พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ว่าด้วยเรื่อง พัฒนา“พุทธมณฑล”

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img