วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSครม. ส่งไม้ต่อคมนาคมลงดาบรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม. ส่งไม้ต่อคมนาคมลงดาบรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

ครม. มอบคมนาคมบูรณาการแก้ปัญหาทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เปิดช่องดำเนินคดีตามกฏหมาย  คุมเข้มการทำงานเจ้าพนักงานป้องกันปัญหาทุจริต

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ปัญหา ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมายให้สามารถเอาผิดและลงโทษผู้ประกอบการที่บรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยในการจับกุมผู้กระทำความผิดให้เจ้าพนักงานทางหลวงแจ้งต่อพนักงานสอบสวนด้วยว่า ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรถบรรทุกในฐานะผู้ใช้ จ้าง วาน ของผู้ขับขี่รถบรรทุกคันก่อเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ด้วย

ขณะเดียวกัน ยังให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการควบคุม กำกับ ดูแลถนนในแต่ละเขตความรับผิดชอบอย่างบูรณาการ เพื่อจัดการกับรถบรรทุกที่กระทำความผิดอย่างเข้มงวด รวมทั้งการอบรม สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และการจับกุมผู้กระทำความผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้ถนนของรถบรรทุก และจัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย


นอกจากนี้ ยังให้มีการออกมาตรการให้รถบรรทุกมีใบชั่งระบุน้ำหนักตั้งแต่ต้นทาง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ศูนย์กระจายสินค้าต่างๆ ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม และรถบรรทุกต้องจัดให้มีป้ายแสดงน้ำหนักที่บรรทุกจริงขณะวิ่งด้วย พร้อมทั้งช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเมื่อพบผู้กระทำความผิด

รวมทั้งให้ผลักดันการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ เช่น เทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ความเร็วสูง (High-Speed Weigh-In-Motion : HSWIM) และเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-In-Motion : BWIM) มาใช้ในการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อลดปฏิสัมพันธ์ และการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเท่าเทียม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังเสนอแนะให้เพิ่มมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีปัญหาการทุจริต การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img