วันพุธ, มิถุนายน 26, 2024
หน้าแรกNEWSสสส.จัดเวทีถอดบทเรียนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สสส.จัดเวทีถอดบทเรียนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

สสส. สวค. IHPP จัดเวทีถอดบทเรียนการพัฒนาคนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว พชอ. 24 แห่ง ชี้ อสม. หนุนเสริมบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ได้ดี

วันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) จัดการประชุม LTC Forum 2020 “ก้าวไปด้วยกันสู่บริการสุขภาพระยะยาวที่ยั่งยืน – Moving together to sustainable LTC” เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับการดูแลระยะยาว ภายใต้โครงการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สนับสนุนโดย สสส. โดยมีตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และตัวแทนหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่เข้าร่วม

นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่า ปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงวัยจำนวน 20 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของคนไทยจะเป็นผู้สูงวัย และผู้สูงวัยอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป จะมีมากถึง 3,500,000 คน ดังนั้นการรองรับระบบบริการดูแลผู้สูงวัยจึงเป็นวาระเร่งด่วนที่ภาคนโยบายให้ความสำคัญ

พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ในปี 2561 สสส. สนับสนุนให้ สวค. และ IHPP จัดทำโครงการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้วยการสนับสนุนจาก สสส. โดยพบความโดดเด่นด้านการจัดการประเด็นผู้สูงวัยอย่างเป็นระบบ จึงเกิดเป็นการต่อยอดในประเด็นการดูแลผู้สูงวัยระยะยาว การถอดบทเรียน

โครงการฯ ครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่น และเชื่อมโยงนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ ทั้งยังทำให้ได้นวัตกรรมการแก้ปัญหากำลังคนในระดับพื้นที่ โดยผลพบว่าหัวใจของการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องอาศัยกำลังคนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ 1. กำลังคนในชุมชน (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) และ 2. กำลังคนวิชาชีพ (พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชน)

นายวีระชัย ก้อนมณี ผอ.สำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ได้จัดตั้งกองทุนการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง (กองทุน LTC) ตั้งแต่ปี 2559 โดยให้ อปท. เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการกองทุน ทั้งนี้ สปสช. เตรียมวางแผนขับเคลื่อนงบประมาณส่วนหนึ่งในกองทุน LTC หลังพบว่ามีเงินค้างท่อในระบบทั่วประเทศกว่า 800 ล้านบาท

 ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการนำงบส่วนนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง อันมีสาเหตุมาจากความเข้าใจที่คาดเคลื่อนว่าระบบบริการดังกล่าวเป็นของกระทรวงสาธารณสุขเพียงหน่วยงานเดียว โดยหลังจากนี้จะประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพระดับเขต และภาคีเครือข่าย สร้างความรู้ความเข้าใจให้ อปท. สามารถเบิกจ่ายงบประมาณมาสนับสนุนการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการเสริมศักยภาพท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชนเป็นทุนเดิม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img