มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จัดกิจกรรมรูปแบบสวนบำบัดที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิการและครอบครัว เพื่อเป็นต้นแบบการรักษาแบบสวนบำบัดและฟื้นฟู แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์การใช้สวนบำบัดกับเด็กพิการและครอบครัว
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สัปดาห์สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบสวนบำบัดที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิการและครอบครัว สู่การมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อเป็นต้นแบบการรักษาแบบสวนบำบัดและฟื้นฟู ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์การใช้สวนบำบัดกับเด็กพิการ ที่เหมาะสมกับเด็กพิการและครอบครัว
สำหรับสวนบำบัดในช่วงบ่ายประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับพืชและสวน เช่น การทำสวน การปลูกผักและไม้ดอก การขยายพันธุ์พืช เยี่ยมชมสวนสาธารณะ ป่า อุทยานต่างๆ ภายในงานมีกิจกรรม workshop :Garden Therapy เป็นการจำลองสวนบำบัดจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 6 กิจกรรม เด็กๆจะได้ใช้สัมผัสและได้กลิ่นของธรรมชาติอย่างใกล้ชิดในรูปแบบของสวนบำบัด ซึ่งช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กพิการแบบองค์รวม เช่น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สติปัญญา สังคม อารมณ์ การสื่อความหมาย ความรู้สึกถึงการมีสุขภาวะที่ดี ทั้งทางกาย จิต และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
1.ดอกไม้บำบัด (MOA) เป็นการจัดดอกไม้ลงในแจกันที่เตรียมไว้ ความงามจะช่วยให้จิตใจเราลดความขุ่นหมอง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจ็บไข้ได้ป่วย และความงามจะทำงานโดยตรงกับจิตวิณญาณของเรา เป็นวิธีการที่ง่ายและตรงไปตรงมา ในการจัดดอกไม้เป็นวิธีการที่ง่ายและสามารถทำได้ในทุกวัน ทำให้เกิดสุขภาวะที่ดี
2.ปลูกพืชสนุก…สุขภาวะดี (MOA) บูทนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้การสัมผัสดิน การดมกลิ่น การนวดคลึง การกด เด็กๆสามารถใช้กล้ามเนื้อมือขยำได้ การอยู่กับธรรมชาติก็เป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง
ส่วนประกอบก็จะมีปุ๋ยหมัก ดิน ขุยมะพร้าว แกลบ และพืชที่ต้องงการปลูก มาผสมกันและใส่น้ำโดยให้มีความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำพืชที่เตรียมไว้ปักลงไปและคลุมด้วยถุงพลาสติก ทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ แล้วจึงนำลงกระถาง และดูการเจริญเติบโตของต้นไม้เราได้
3. ปลูกต้นอ่อน (ผู้ปกครองมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ) เป็นการนำต้นอ่อนของพืชต่างๆมาปลูก เฝ้าดูการเจริญเติบโต เมื่อต้นอ่อนที่เราปลูกโตสามารถนำมารับประทานได้อีกด้วย เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้สารเคมี ทำให้เด็กๆได้ฝึกสมาธิและความอดทน
4.ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ (ผู้ปกครองมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ) เป็นการนำผ้ามัดเป็นจุดๆเพื่อให้เกิดลวดลายตามจิตนาการ จากนั้นนำผ้าที่เรามัดไปย้อมกับสีที่สกัดมาจากธรรมชาติ 15-30 นาที และแกะส่วนที่มัดออกก็จะได้ผ้ามันย้อมที่เราทำขึ้นเองซึ่งจะมีลวดลายไม่เหมือนกับใครแน่นอน
กิจกรรมนี้ช่วยให้เด็กๆมีสมาธิในการมัด การจับผ้า การสัมผัสและการดมกลิ่น อย่างเช่น ขมิ้น สกัดออกมาได้สีเหลืองและมีกลิ่น ทำให้ไปกระตุ้นการรับรู้กลิ่นของเด็กๆ ถือว่าเป็นการบำบัดอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำได้และไม่เป็นอันตราย
5.ถาดทรายบำบัด (คุณศุภฤทธิ์ ทวีเกียรติ เจ้าของเพจ Sand Tray Play ก็ดี Therapy ก็ได้) มี 2 กิจกรรมด้วยกัน คือ 1.ให้เด็กๆไปเที่ยวทะเล โดยการนำทรายเปียกให้เด็กๆทดลองสัมผัสเหมือนได้ไปทะเลจริงๆ การได้รับสัมผัสที่นุ่มๆเด็กๆจะชอบมาก
กิจกรรมที่ 2 จะพาไปเที่ยวญี่ปุ่น เป็นการทำสวนเซนแบบญี่ปุ่น โดยมีไม้ไว้ทำลวดลายบนทราย และแต่งเติมด้วยหิน หรือจะวาดรูปบนทรายก็ได้ กิจกรรมนี้เน้นการผ่อนคลาย เบาสบาย และการเจริญสติ
6.สายไหมสมุนไพร (ผู้ปกครอง มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ) เติมความหวานเข้าร่างกาย แต่เป็นความหวานจากสมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายๆ โดยนำมาใส่เครื่องทำสายไหมเท่านี้เราก็สามารถทานขนมสายไหมสมุนไพรได้แล้ว