วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสวัสดิการลด-ว่างงานสูง-เด็กจบใหม่ตกงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สวัสดิการลด-ว่างงานสูง-เด็กจบใหม่ตกงาน

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานในหลายด้าน ทั้งความต้องการแรงงาน ตลอดจนรูปแบบการทำงาน และการสัมภาษณ์งานที่เปลี่ยนไป

นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการจ๊อบไทย   เปิดเผยข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องโลกการทำงานที่เปลี่ยนไปในยุค Post COVID-19 Pandemic จากคนทำงานทั่วประเทศจำนวน 7,548 คน และสำรวจความคิดเห็นขององค์กรทั่วประเทศจำนวน 1,019 องค์กร พบว่า ในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์มีผู้ที่ได้ทำงานที่บ้านเพียง 34.1% และผู้ที่ไม่ได้ทำงานที่บ้าน 65.9% สำหรับผู้ที่ได้ทำงานที่บ้านระบุข้อดีของการทำงานที่บ้านว่า ทำให้เขามีโอกาสได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการเมืองในองค์กรได้ มีช่วงเวลาในการทำงานนานขึ้นกว่าการทำงานในออฟฟิศ และยังสามารถจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานดีกว่าในออฟฟิศ

องค์กรยกเลิกสวัสดิการเหตุจากโควิด-19 และกว่า 77% เตรียมขึ้นเงินเดือนในปี 64 สำหรับองค์กรนั้นมีการปรับเปลี่ยนสวัสดิการหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีการเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (Work From Home / Remote Working) มากที่สุด เพิ่มสวัสดิการเวลาทำงานสามารถยืดหยุ่นได้ (Flexible Hours) และสวัสดิการเงินกู้ยืม ส่วนสวัสดิการที่ถูกยกเลิก ส่วนอุปสรรคในการทำงานของฝั่งองค์กรที่พบมากที่สุด คือ การสรรหาและว่าจ้างพนักงานใหม่ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน การดูแลเรื่องสวัสดิการให้กับพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กร และการสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรให้กับพนักงาน ตามลำดับ

จากการสัมภาษณ์องค์กรเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า องค์กรที่ให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) มีรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เนื่องจากองค์กรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เช่น การประชุมออนไลน์ (Video Conference) ทั้งกับบุคคลภายในและภายนอก ทำให้คนทำงานต้องเกิดการปรับตัว การเรียนรู้ เลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนลดขั้นตอนในการทำงาน ลดการใช้เอกสารแบบกระดาษ ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ (New Normal) ขององค์กร

ธุรกิจท่องเที่ยว ว่างงานสูงสุดจากเหตุโควิด-19 ผู้ตอบแบบสอบถามฝั่งคนทำงานแบ่งเป็นผู้มีงานทำ 62.7% ผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 23.7%  อีก 13.6% เป็นผู้ว่างงานที่เกิดจากเหตุผลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้ว่างงานที่เกิดจากผลกระทบจากโควิด-19 เป็นผู้ที่ทำงานในประเภทธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจการขายปลีก ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนคนมีงานทำกับคนว่างงานที่ทำงานในประเภทธุรกิจเดียวกัน พบว่าประเภทธุรกิจที่มีผู้ว่างงานเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สูงสุดคือ ธุรกิจการท่องเที่ยว โดยมีสัดส่วนผู้ว่างงานที่เป็นผลกระทบจากโควิด-19 สูงถึง 71.9%

พนักงานกว่า 81% มองหางานใหม่ในปีหน้า การสำรวจแผนการหางานใหม่ในปี 2564 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีงานทำ พบว่า มีผู้ที่จะหาใหม่อย่างจริงจัง 26.4% ไม่ได้หาอย่างจริงจังแต่เปิดโอกาสสำหรับงานใหม่ 55.4% และมีเพียง 18.2% ที่คิดว่าจะไม่หางานใหม่

สำหรับสาเหตุที่พนักงานต้องการเปลี่ยนงาน อันดับหนึ่ง ไม่พึงพอใจเรื่องเงินเดือน อันดับสอง ไม่มีความก้าวหน้าในสายงาน อันดับสาม ไม่พึงพอใจเรื่องสวัสดิการ อันดับสี่ ไม่พึงพอใจเรื่องวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมขององค์กร อันดับห้า งานที่ทำไม่มีความท้าทาย

ส่วนปัจจัยที่ทำให้อยากทำงานในองค์กรเดิม อันดับหนึ่ง มีเพื่อนร่วมงานที่ดี อันดับสอง การเดินทางสะดวก อันดับสาม เงินเดือนเป็นที่พึงพอใจ อันดับสี่ มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี อันดับห้า มีสวัสดิการที่ดี

คนหางานเร่งเพิ่มสกิลการสมัครงาน ภาษาต่างประเทศ และการเงิน แต่ยังกังวลเรื่องเศรษฐกิจ การสำรวจคนทำงานเกี่ยวกับการหางานในช่วงนี้ พบว่า มีคนหางานที่ต้องการเปลี่ยนสายงาน 47.3% ซึ่งสายงานที่คนต้องการเปลี่ยนไปทำมากที่สุดเป็นสายงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะเฉพาะ

ในช่วงที่ว่างงาน คนหางาน 54.1% เลือกเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะและความสามารถในการแข่งขัน โดยอันดับหนึ่ง เรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวหางาน สมัครงาน อันดับสอง ภาษาต่างประเทศ อันดับสาม การเงิน การลงทุน

เมื่อสอบถามถึงความกังวลในการหางานใหม่ อันดับแรกที่กังวล คือ เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ 72.6% อันดับที่สอง กังวลเรื่องการแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น 66.3% อันดับสาม กังวลเรื่องความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ 59.9% อันดับสี่ ทักษะความสามารถของตนเองอาจมีไม่เพียงพอ 56.9% และอันดับห้า กังวลว่าประสบการณ์ในการทำงานไม่เพียงพอต่อการสมัครงานใหม่ 55.7%

สำหรับซอฟต์สกิล (Soft Skills) ที่องค์กรมองหาจากคนทำงานหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า อันดับหนึ่ง ความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ 49.6% อันดับสอง ความสามารถในการทำงานเชิงรุก (Proactive) 49.1% อันดับสาม การจัดลำดับความสำคัญของงาน 47.6%  อันดับสี่ การสื่อสารและการถ่ายทอดข้อมูล 45.3% และอันดับห้า การบริหารเวลา 44.0%

นักศึกษาจบใหม่หวั่นตกงาน บริษัทไม่จ้างเด็กจบใหม่ ด้านนักศึกษาจบใหม่ที่จบการศึกษาในปีนี้มีปัญหาการว่างงานสูง และต้องเจอกับสภาวะการแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น จ๊อบไทยจึงสำรวจความคิดเห็นนักศึกษาจบใหม่ที่ยังว่างงานและกำลังหางานทำอยู่จำนวน 1,496 คน พบว่า นักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานได้หางานมาเป็นเวลา 1-3 เดือน 44.0% หางานมาเป็นเวลา 4-6 เดือน 31.9% และหางานน้อยกว่า 1 เดือน 9.8%

โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ไม่เคยได้รับการเรียกสัมภาษณ์งาน 36.2% กลุ่มที่ได้รับการสัมภาษณ์แล้วแต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์งาน 35.4% จากการสอบถามในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ทั้งหมดว่าต้องการจะทำงานอยู่ในองค์กรแรกประมาณกี่ปี พบว่า นักศึกษาจบใหม่อยากทำงานในองค์กรแรกประมาณ 1-3 ปี 65.5%  3-5 ปี 12.7% ไม่เกิน 1 ปี 11.2% และ 5 ปีขึ้นไป 10.7%

นอกจากนี้นักศึกษาจบใหม่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตหลังเรียนจบ ดังนี้ อันดับหนึ่ง กังวลว่าจะหางานทำไม่ได้ อันดับสอง กังวลเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำจะทำให้บริษัทไม่จ้างงานเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน อันดับสาม กังวลเรื่องรายได้จะไม่เพียงพอในการเลี้ยงชีพ อันดับสี่ กังวลว่าจะได้งานที่ไม่ตรงกับความต้องการ อันดับห้า กังวลเรื่องหัวหน้าเเละเพื่อนร่วมงานจะไม่ดี

และเมื่อจ๊อบไทยสำรวจความคิดเห็นขององค์กรเกี่ยวกับทักษะที่องค์กรใช้พิจารณานักศึกษาจบใหม่เข้าร่วมงาน พบว่าสอดคล้องกับทักษะที่นักศึกษาจบใหม่คิดว่าตัวเองมี คือ อันดับหนึ่ง ที่องค์กรจะพิจารณาคือความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ อันดับสอง ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อันดับสาม การสื่อสาร และการถ่ายทอดข้อมูล อันดับสี่ ความคิดสร้างสรรค์ อันดับห้า ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน และวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ

สำหรับสายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุดในช่วงนี้ ได้แก่ อันดับหนึ่ง งานขาย อันดับสอง งานช่างเทคนิค อันดับสาม งานบริการลูกค้า อันดับสี่ งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ อันดับห้า งานวิศวกรรม 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img