วันอังคาร, กรกฎาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWSฝ่ายความมั่นคงประเมินม็อบกดดันให้ นายกฯลาออก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ฝ่ายความมั่นคงประเมินม็อบกดดันให้ นายกฯลาออก

ฝ่ายความมั่นคงประเมินสถานการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ด้าน คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมืองมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผย จุดเปราะบางของรัฐบาล คือปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แนะนายกรัฐมนตรีต้องเร่งแก้ไขก่อนที่รัฐบาลจะตกต่ำเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่น 

เมื่อวันที่ 13 ก.ย. แหล่งข่าวจากความมั่นคง เปิดเผยถึงกรณีการจัดกิจกรรม Flash Mob ขับไล่รัฐบาล และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ ว่าสมาชิกพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ยังคงหยิบยกประเด็นปัญหาเศรษฐกิจมาขยายความโจมตีกล่าวหา ให้สังคมเห็นว่าเป็นความผิดพลาดจากการบริหารงานของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม รวมทั้งรัฐบาล จนส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจต่อการดํารงชีวิตประจําวัน และทําให้นักธุรกิจไม่กล้าที่จะมาลงทุนจนทําให้ประเทศชาติต้องเสียโอกาส พร้อมทั้งพยายามเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบด้วยการลาออก เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจาก การบริหารงานของรัฐบาลเอง 

ส่วนกลุ่มแกนนําประชาชนปลดแอก ได้พยายามออกมาเคลื่อนไหวให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีการชุมนุมใหญ่ที่มธ. ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 19 ก.ย.63 ว่า ถ้าหากเกิดความวุ่นวายในพื้นที่ชุมนุมรัฐบาล ต้องเป็นผู้รับผิดชอบที่ไม่สามารถคุ้มครองดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ คงจะถูกนํามาสร้างกระแสเพิ่มแรงกด ดันต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

“การชุมนุมต่างหากที่บั่นทอนเศรษฐกิจของชาติ การลาออกเพราะถูกม็อบบนถนนกดดัน ไม่ใช่วิถีทางประชา ธิปไตยแน่นอน ไม่มีใครไม่รู้การลาออก ก็แสดงว่ากฏหมู่อยู่เหนือกฏหมาย ประชาธิปไตยที่ละเมิดกฏหมายก้าวร้าวใส่ผู้คน เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่มีใครยอมรับได้ บ้านเมืองมีขื่อแป มีกฏหมาย มีประเพณีจะลาออกส่งเดชไม่ได้ประชาชนส่วนใหญ่และอีกหลายคนไม่ได้เชื่อว่าการลาออกคือการผ่อนคลาย และไม่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเพราะการบริหารงานภาครัฐรวมทั้งหากไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้อาจตกอยู่ในสถานการณ์หนักหนาสาหัสกว่านี้มากด้วยซ้ำไป การชุมนุมต่างหากที่บั่นทอนเศรษฐกิจของชาติ” แหล่งข่าวความมั่นคง กล่าว

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตกล่าวถึงผลสำรวจของสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองขณะนี้และคุณสมบัติของขุนคลังคนใหม่ที่ประชาชนให้ความสนใจมากกว่ากระแสข่าวการรัฐประหาร แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันจะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ก็ตาม ซึ่งสาเหตุของความไม่เชื่อว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นในขณะนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์และตัวแปรที่จะนำไปสู่การทำรัฐประหารยังมีไม่มากพอ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นในการเมืองไทย 

สำหรับข้อพิจารณาเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือการเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น ดูเสมือนจะไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะเมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนทางการเมืองในเรื่องระบบรัฐสภาและเสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลแล้ว จะเห็นว่ารัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังมีแต้มต่อทางการ เมืองอยู่หลายขุม ทั้งส.ว.,ส.ส.และพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังมีความเหนียวแน่นและไม่มีการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลเลย ดังนั้นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ณ วันนี้ที่จะนำไปสู่ความเปราะบางของรัฐบาลคือปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นปัญหาที่นายกรัฐมนตรีต้องเร่งแก้ไขเพื่อมิให้รัฐบาลต้องตกต่ำตามภาวะเศรษฐกิจในยุค NEW NORMAL เพราะขาดความเชื่อมั่นต่อประชาชน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img