วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสอวช.ลุยแก้จนถาวรใน10 จังหวัดนำร่อง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สอวช.ลุยแก้จนถาวรใน10 จังหวัดนำร่อง

บพท.-สอวช. เลือก 10 จังหวัดนำร่องที่มีรายได้น้อยที่สุดในประเทศไทย ลุยใช้การวิจัยและนวัตกรรมแก้ปัญหาความยากจน ตั้งเป้าประชาชนหลุดพ้นยากจนอย่างยั่งยืน

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร สอวช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการให้ สอวช. ดำเนินการนำงานวิจัยและนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ในส่วนของ สอวช. โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ดำเนินโครงการ “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” โดยมีเป้าหมายเพื่อหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า การดำเนินโครงการเริ่มต้นจากพื้นที่นำร่อง 10 จังหวัด ที่มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ชัยนาท ปัตตานี กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ มุกดาหาร และสกลนคร โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืน

โดยประชากรกลุ่มยากจนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน และสามารถเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา สวัสดิการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียม มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายคนจนที่มีความแม่นยำ เพื่อให้การจัดสรรสวัสดิการรัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงคนจนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนเป็น knowledge worker หรือ smart farmer มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า จากการดำเนินงานวิจัยมา 2 เดือน พบว่า สามารถดำเนินงานวิจัยได้ตามแผน ทั้งการพัฒนาและทดสอบเครื่องมือการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาความยากจนในพื้นที่ และพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ โดยทีมสถาบันการศึกษาในพื้นที่สร้างกลไกความร่วมมือกับจังหวัด เป็นคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัด และเริ่มขับเคลื่อนการสำรวจปัญหาความยากจนรายครัวเรือน เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือทั้งระดับพื้นที่และส่วนกลาง

นอกจากนี้ ทีมภาคประชาสังคมยังได้พัฒนาระบบและเครื่องมือกลางในการสำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหาเชิงลึกของคนจนในพื้นที่และสำรวจศักยภาพและทุนในพื้นที่ สร้างระบบการช่วยเหลือและจัดการหนุนเสริมกระบวนการทำงานกับกลไกจังหวัด และสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง 10 จังหวัด ขณะเดียวกัน บพท. ยังได้ประสานทำความร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย ในด้านจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการวิจัยร่วมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัด

เพื่อติดตามและประสานงานการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ รวมถึงการประสานทำความร่วมมือกับสถาบันวิจัยป๋วย อึ้งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพัฒนา system based research พร้อมทั้งวิจัยนโยบาย ทำ state of development และทำการสังเคราะห์งานภาพรวมและเชื่อมโยงระบบในระดับชาติ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img