วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“คลัง”เล็งรีดเพิ่มภาษีเงินได้-แวตปั๊มรายได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“คลัง”เล็งรีดเพิ่มภาษีเงินได้-แวตปั๊มรายได้

“สศค.” เล็งเสนอรัฐยกเว้นและลดหย่อนทางภาษี หลังรายได้รัฐบาลต่อจีดีพีหดควบคู่กับการเพิ่มฐานภาษีใหม่ โดยเฉพาะภาษีเงินได้-ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังภาระการคลังมีความเสี่ยงจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น-รายจ่ายสวัสดิการข้าราชการ-ปชช.ระดับสูง

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเสนอทบทวนมาตรการยกเว้นภาษีและลดหย่อนทางภาษี หลังจากแนวโน้มรายได้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) เริ่มลดลง ล่าสุดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สศค.ทำรายงานความเสี่ยงทางการคลัง ระบุว่าสัดส่วนรายได้รัฐบาลสุทธิต่อจีดีพียังคงลดลงต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ 14.64% คาดการณ์ตามแผนปีงบประมาณ 2569 จะลดลงเหลือ 13.31%

“”รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญการพิจารณาทบทวนมาตรการยกเว้นภาษีและมาตรการลดหย่อนต่าง ๆ เพื่อทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ที่มีเท่าที่จำเป็น ควบคู่ไปกับพิจารณาผลักดันแนวทางเพิ่มความสามารถการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ การขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย รวมถึขยายการจัดเก็บภาษีให้ครอบคลุมถึงฐานภาษีใหม่ๆ ด้วย”แหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาษีฐานเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ถือเป็นฐานรายได้หลักที่สำคัญของรัฐบาล แต่มีสัดส่วนต่อจีดีพีลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของภาษีฐานเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาระของภาคเอกชนและประชาชนประกอบด้วย 

ทั้งนี้ สศค.ยังมองความเสี่ยงการคลังในระยะ 5 ปีข้างหน้า รายจ่ายดอกเบี้ยต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ 5.92% ของงบประมาณรายจ่าย คาดว่าจะปรับสูงขึ้นไปอยู่ที่ 9.08% ของงบประมาณรายจ่ายในปี 2569 ตามแนวโน้มของภาระหนี้ปรับสูงขึ้น และแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีภาระรายจ่ายสวัสดิการจ่ายให้ทั้งข้าราชการและประชาชนระดับสูง ตามแนวโน้มการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ปีงบประมาณ 2564 รายจ่ายสวัสดิการของข้าราชการ อยู่ที่ 4.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 13.68% ของงบประมาณรายจ่าย ส่วนสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้กับประชาชนอยู่ที่ 4.01 แสนล้านบาท คิดเป็น 12.22% ของงบประมาณรายจ่าย

ส่วนภาระผูกผันมาจากการดำเนินนโครงการตามนโยบายของรัฐ ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เป็นภาระรายจ่ายที่รัฐขอให้หน่วยงานของรัฐ ส่วนใหญ่คือสถาบันการเงินของรัฐ ให้ออกเงินดำเนินโครงการของรัฐไปก่อน หลังจากนั้นรัฐบาลจะทยอยชำระคืนภายหลัง ปีงบประมาณ 2564 ภาระรายตามมาตรา 28 อยู่ที่ 9.53 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความเสี่ยงทางการคลังในอนาคต จากปัญหาความยั่งยืนระยะยาวของกองทุนประกันสังคม ได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิดช่วงที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลตัดสินใจลดเงินจ่ายสะสมกองทุนของสมาชิก เพื่อลดภาระช่วงแพร่ระบาดโควิด ส่งผล กระทบต่อรายได้ของประชาชน ปัจจุบันรัฐบาลยังมีภาระค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมราว 6 หมื่นล้านบาท 

รวมถึงภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คลังกำหนดแผนการคลังระยะปานกลาง ปี 2566-2569 ให้รัฐบาลยังดำเนินนโยบาย การคลังแบบขาดดุลต่อเนื่องตามความจำเป็นในการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิดคลี่คลายลง แต่ส่งสัญญาณทยอยลดสัดส่วนขาดดุลต่อจีดีพี ลงใน 5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดีเพื่อรักษาวินัยและเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว รัฐบาลต้องให้ความสำคัญทยอยปรับลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพี ให้อยู่ระดับไม่เกิน 3% เป็นระดับเอื้อต่อการควบคุมระดับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีให้ลดลงต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img