วันศุกร์, พฤศจิกายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“เงินบาทอ่อน”กังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ฉุดเศรษฐกิจโลกทรุด
- Advertisment -spot_imgspot_img

“เงินบาทอ่อน”กังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ฉุดเศรษฐกิจโลกทรุด

เงินบาทเปิดตลาด 37.98 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่า กังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนัก รวมถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทวีความรุนแรงอีกครั้ง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย ปิดเผยว่า ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ที่ระดับ 37.98 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 37.92 บาทต่อดอลลาร์  ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทำให้โมเมนตัมเงินบาทกลับมาอยู่ในทิศทางอ่อนค่ามากขึ้นอีกครั้งและมีโอกาสที่เงินบาทอาจอ่อนค่าทดสอบแนวต้าน 38.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งหากเงินบาทอ่อนค่าทะลุระดับดังกล่าวก็อาจเห็นเงินบาทกลับไปอ่อนค่าใกล้ระดับ 38.50 บาทต่อดอลลาร์ อีกครั้งได้ไม่ยาก หากตลาดยังปิดรับความเสี่ยงและเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้น

นอกจากนี้ ปัจจัยที่กลับมากดดันเงินบาทนอกเหนือจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ คือ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงเป็นฝั่งขายสุทธิสินทรัพย์ไทย ทำให้โอกาสที่เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าได้ในช่วงระยะสั้นนี้เป็นสิ่งที่ยากพอสมควร 

ทว่าแนวโน้มการย่อตัวลงของราคาทองคำ หากไม่ปรับตัวลดลงรุนแรงต่อและหลุดโซนแนวรับ ก็มีโอกาสที่ราคาทองคำอาจย่อตัวลงชั่วคราว ก่อนที่จะรีบาวด์ขึ้น หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มทยอยมาซื้อทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยบ้าง เพื่อรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ทำให้หากราคาทองคำกลับมารีบาวด์ขึ้นชัดเจนก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ (Correlation ระหว่างเงินบาทกับราคาทองคำสูงถึง 78%)

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนของหลายปัจจัย เราคงแนะนำให้ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนักมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 37.85-38.15 บาท/ดอลลาร์

สำหรับตลาดการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ท่ามกลางปัจจัยกดดัน อาทิ ความกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนตลาดรับรู้รายงานเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนัก จนเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการจำกัดการเติบโตอุตสาหกรรม Semiconductor ของจีนโดยสหรัฐฯ ทำให้บรรดาผู้เล่นในตลาดต่างเดินหน้าเทขายสินทรัพย์เสี่ยง กดดันให้ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง -0.75% 

ส่วนดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ก็ปิดตลาด -1.04% นำโดยแรงขายหุ้นกลุ่ม Semiconductor อาทิ Qualocomm -5.2%, Nvidia -3.4%, Intel -2.0% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเผชิญแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน (Exxon Mobil -2.2%, Chevron -1.8%) ตามการปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยซึ่งอาจกระทบความต้องการใช้พลังงานได้

ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ของยุโรป ปรับตัวลดลงต่อเนื่องราว -0.40% ท่ามกลางความกังวลสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ร้อนแรงขึ้น หลังจากที่รัสเซียได้เปิดโจมตียูเครนเป็นวงกว้างด้วยขีปนาวุธอีกครั้ง 

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดต่างรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่ยังคงท่าทีระมัดระวังตัว ทั้งนี้ ความกังวลปัญหาความขัดแย้งด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ยังได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่ม Semiconductor ของยุโรป อาทิ ASML -3.3%

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 113 จุด ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินที่ยังหนุนความต้องการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงแรงหนุนจากแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดจะอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ทว่าการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ ในจังหวะที่ตลาดกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ได้กดดันให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ปรับตัวลงต่อเนื่องสู่ใกล้โซนแนวรับแถว 1,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่าการย่อตัวลงของราคาทองคำดังกล่าว ทำให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง

สำหรับวันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจ โดย IMF หรือ World Economic Outlook (WEO) ซึ่งคาดว่า IMF อาจมีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจลงมากขึ้น และอาจชี้ว่าเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางและแรงกดดันต่อค่าครองชีพในภาวะเงินเฟ้อสูง

ซึ่งมุมมองเชิงลบดังกล่าวของ IMF อาจกดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินได้ (Recession fears) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯและโอกาสที่เฟดจะเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img