วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเงินบาทแข็งค่า! ทั่วโลกจับตาประชุมเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เงินบาทแข็งค่า! ทั่วโลกจับตาประชุมเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ย

เงินบาทเปิดตลาด 37.90 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย นักลงทุนรอผลประชุมเฟดวันที่ 1-2 พ.ย.นี้ พร้อมดูทิศทางการส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. เพื่อลดแรงเสียดทานเศรษฐกิจหรือไม่ – เกาะติดการประกาศงบไตรมาส 3/65 ทั่วโลก-ทิศทางค่าเงินหยวนในสัปดาห์นี้

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย ปิดเผยว่า ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ที่ระดับ 37.90 บาทต่อดอลลาร์“แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 37.92 บาทต่อดอลลาร์   โดยแนวโน้มแกว่ง Sideways และอาจอ่อนค่าลงทะลุระดับ 38.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ (Correlation กับค่าเงินบาทเกือบ 80%) รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ และทิศทางของเงินหยวนจีนที่จะส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินบาทได้ในสัปดาห์นี้

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์ (และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ) มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ หากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า เฟดอาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงปลายปี หรือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะข้อมูลตลาดแรงงานไม่ได้แย่ลงมาก อนึ่ง หากรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ไม่ได้แย่กว่าคาด ก็อาจพอช่วยพยุงบรรยากาศในตลาดการเงิน ซึ่งอาจชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้บ้าง

เราคงคำแนะนำว่า ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 37.75-38.40 บาท/ดอลลาร์ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 37.80-38.00 บาท/ดอลลาร์

สัปดาห์ที่ผ่านมา ความคาดหวังของผู้เล่นในตลาดที่มองว่าเฟดอาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยยังคงหนุนให้ตลาดอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On)

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ไฮไลท์สำคัญที่ต้องจับตาและระมัดระวังความผันผวนในตลาด คือ การประชุม FOMC ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน ก็ยังคงมีผลต่อบรรยากาศในตลาดการเงิน  โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมเฟด (FOMC meeting) โดยเราคาดว่า เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ย +75bps สู่ระดับ 4.00% ตามที่ตลาดได้คาดการณ์และรับรู้ไปมากแล้ว เนื่องจากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยรวมยังคงตึงตัวและแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยของเฟดจากถ้อยแถลงของประธานเฟดในช่วง Press Conference ซึ่งต้องระวังความผันผวนในตลาดการเงิน (ตลาดอาจปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจปรับตัวขึ้น) หากประธานเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเฟดอาจพิจารณาปรับลดอัตราการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป หรือไม่ได้ส่งสัญญาณว่าบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างกังวลผลกระทบจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจมากขึ้น 

อนึ่ง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาจสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ โดย ISM (Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนตุลาคม อาจลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 50 จุด และ 55.1 จุด ตามลำดับ (ดัชนีมากกว่า 50 หมายถึง ภาวะขยายตัว) ส่วนข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ก็อาจเริ่มเห็นการชะลอลงของการเปิดรับสมัครงาน โดยยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) อาจลดลงสู่ระดับ 9.6 ล้านคน จาก 10 ล้านคน 

ขณะเดียวกันยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนตุลาคมก็อาจลดลงเหลือ 1.9-2.0 แสนราย ซึ่งจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราว่างงาน (Unemployment) สู่ระดับ 3.6% ทว่า อัตราการเติบโตของค่าจ้างรายชั่วโมง (Average Hourly Earnings) จะยังอยู่ในระดับสูง +4.7%y/y แม้ว่าจะชะลอลงมาบ้าง แต่ก็ยังสะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากตลาดแรงงานนั้นยังคงมีอยู่ 

นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยหากรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด (คาดการณ์แนวโน้มผลกำไรก็ควรดีกว่าคาดเช่นกัน) ก็อาจพอช่วยพยุงบรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินให้อยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่องได้

ส่วนยุโรป – ไฮไลท์สำคัญในฝั่งยุโรป คือ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดว่า BOE จะเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ย +75bps สู่ระดับ 3.00% หลังเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่า 10% อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตามุมมองของ BOE ต่อการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต หลังเศรษฐกิจอังกฤษชะลอตัวลงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการที่ลดลงต่อเนื่องจนแตะระดับต่ำกว่า 50 จุด พอสมควร (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว)

ด้านเอเชีย – ตลาดมองว่าการทยอยเปิดประเทศของญี่ปุ่นจะช่วยหนุนให้ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกันยายนโตราว +0.8%m/m หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ 

สำหรับจีน แนวโน้มเศรษฐกิจยังดูไม่สดใสนัก ท่ามกลางแรงกดดันจากนโยบาย Zero COVID ซึ่งจะส่งผลให้ ดัชนี PMI ภาคการบริการเดือนตุลาคม ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 50.1 จุด ส่วนภาคการผลิตก็จะได้รับผลกระทบจากความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจลดลงสู่ระดับ 49.8 จุด  

ฝั่งนโยบายการเงิน ตลาดคาดว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) จะยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง +25bps สู่ระดับ 2.85% และ 2.75% ตามลำดับ เพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและค่าเงิน ท่ามกลางแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

ฝั่งไทย – การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาทำให้ตลาดประเมินว่า ภาคการผลิตของไทยอาจขยายตัวในอัตราชะลอลง สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนตุลาคมที่จะลดลงสู่ระดับ 55.5 จุด ทั้งนี้ เราคาดว่าระดับฐานราคาที่อยู่ในระดับสูงในปีก่อนหน้าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI เดือนตุลาคม ชะลอลงสู่ระดับ 6.1% อนึ่ง ผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่จะหนุนราคาสินค้าเกษตรให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีการปรับตัวขึ้นราว +0.7% จากเดือนก่อนหน้า

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img