วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“กกพ.”ยอมถอย! ลดค่าไฟฟ้าให้ภาคธุรกิจ เก็บเฉลี่ย 5.33 บาทต่อหน่วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กกพ.”ยอมถอย! ลดค่าไฟฟ้าให้ภาคธุรกิจ เก็บเฉลี่ย 5.33 บาทต่อหน่วย

บอร์ดกกพ. เคาะปรับลดค่าเอฟที งวดเดือนม.ค.-เม.ย.2566 ภาคธุรกิจ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยที่ 5.33 บาทต่อหน่วย จากเดิมที่ต้องจ่าย 5.69 บาทต่อหน่วย เหตุ “กฟผ.” ยอมเลื่อนยืดจ่ายหนี้เป็น 3 ปี

รายงานแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้พิจารณาทบทวนและมีมติปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ประเภทอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ โรงแรมฯลฯ ใหม่เหลือ 154.92 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมจะต้องปรับไปอยู่ 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ลดลง 35.52 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานแล้วค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับกลุ่มนี้เฉลี่ยจะลดลงเหลือประมาณ 5.33 บาทต่อหน่วย จากเดิมต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 5.69 บาทต่อหน่วย นโยบายของกระทรวงพลังงาน

สำหรับสาเหตุที่บอร์ด กกพ.มีมติลดค่าไฟฟ้าดังกล่าวได้ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ยอมเลื่อนการคืนหนี้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จ่ายล่วงหน้าให้ประชาชน 160,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี จากเดิมขอให้ชำระหนี้ภายใน 2 ปี ทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดลงจากงวดนี้ (ม.ค.-เม.ย.2566) รวม 33 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 22 สตางค์ต่อหน่วย

พร้อมกันนี้มีการปรับสูตรคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ จากแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ช่วยลดอัตราคำนวณจาก 37 บาท เหลือ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเหลือ 466 บาทต่อล้านบีทียู จากเดิมอยู่ที่ 506 บาทต่อล้านบีทียู

อีกส่วนหนึ่งมาจากการนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แบ่งมาใช้คำนวณในระบบแก่กลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีการนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ไปคำนวณเฉพาะการใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยเท่านั้น

รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนค่าไฟฟ้ากลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยยังคงเดิมที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานแล้วค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับเท่าเดิมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย

โดยผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง และครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 500 หน่วยต่อเดือน บอร์ด กกพ.ได้คำนวณตัวเลขว่าหากยังมีการให้ส่วนลดแบบขั้นบันได เหมือนกับงวดค่าไฟฟ้าในปัจจุบันแล้ว จะต้องใช้วงเงินมาดูแลรวม 9,000 ล้านบาท

ส่วนนี้จะเกลี่ยก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 6,000 ล้านบาท มาดำเนินการ ส่วนที่ขาดวงเงินอีก 3,000 ล้านบาทกำลังพิจารณาว่าจะมาจากส่วนใด โดย กกพ.เห็นว่า ปตท.ควรคืนในส่วนนี้เพื่อนำมาเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าบ้านที่เรียกเก็บต่ำกว่าภาคเอกชนและกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 43(2) และ มาตรา 57 (2) กำหนดไว้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ต้องจัดสรรแก่ประชาชนและชุมชนก่อน

ดังนั้น ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จึงต้องนำมาใช้คำนวณให้กลุ่มบ้านพักอาศัยก่อน เพื่อทำให้มีราคาค่าไฟฟ้าถูกกว่าภาคเอกชน ซึ่งกลุ่มเอกชนที่ผ่านมาก็ได้รับประโยชน์จากค่าไฟฟ้าที่ลดลงเอฟทีติดลบ 15.32 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อปี 2564 และในส่วนนี้ภาคเอกชน ก็ไม่เคยลดราคาสินค้าให้กับประชาชนแต่อย่างใด และกรณีที่ระบุว่าค่าไฟฟ้าของประเทศเวียดนามอยู่ที่ 2 บาทต่อหน่วย ก็จะต้องให้ไปดูข้อเท็จจริงว่า มีค่าไฟฟ้าอัตรานี้จริงหรือไม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img