วันเสาร์, มิถุนายน 22, 2024
หน้าแรกHighlightเงินบาทแข็งนิวไฮรอบใหม่หลุด 33 บาทต่อดอลลาร์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เงินบาทแข็งนิวไฮรอบใหม่หลุด 33 บาทต่อดอลลาร์

ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.86 บาทต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้น หลังจากดอลลาร์อ่อน ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ได้ส่งผลให้ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างทยอยขายทำกำไร

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.86 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” ทำนิวไฮใหม่อีกครั้งในรอบ 10 เดือน จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.05 บาทต่อดอลลาร์ เป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ  แต่ บรรยากาศในตลาดการเงินนั้นยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงอยู่ ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง (โดยรวมยังเป็นการเคลื่อนไหว Sideways ในกรอบ)

นอกจากนี้ เรายังคงเห็นการทยอยปิดสถานะ Short USDTHB ของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งได้สะท้อนผ่านแรงขายบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติทยอยขายสุทธิบอนด์ระยะสั้น วันละไม่น้อยกว่า 6 พันล้านบาทโดยเฉลี่ย)

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบาทอาจผันผวนในฝั่งอ่อนค่าบ้าง แต่เราประเมินว่า เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 33.20-33.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้เล่นในตลาดต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์และเพิ่มสถานะ Short USDTHB ขณะเดียวกันเรามองว่า แนวรับของเงินบาทก็ยังคงอยู่ในโซน 32.70 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงทิศทางค่าเงินบาท อาทิ ตลาดการเงินพลิกกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น อาจจะด้วยรายงานผลประกอบการที่สุดท้ายออกมาดีกว่าคาด หรือ ตลาดเลิกกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เป็นต้นมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.75-33.15 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) โดยดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.76% หลังจากที่รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) รวมถึงยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Jobless Claims) ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 190,000 ราย และ 1,647,000 ราย ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งอยู่

นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างก็ยังคงออกมาสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อาทิ Susan Collins มองว่าเฟดอาจปรับดอกเบี้ยนโยบายจนแตะระดับสูงกว่า 5% ได้ (จาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ 5%)

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลงแรง -1.55% หลังผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลักอีกครั้ง ซึ่งในส่วนของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประธาน ECB

รวมถึงเจ้าหน้าที่ ECB ท่านอื่นๆ ต่างก็ออกมาสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง จนกว่า ECB จะมั่นใจว่าสามารถจัดการปัญหาเงินเฟ้อสูงได้สำเร็จ ความกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางได้กดดันให้ หุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ต่างปรับตัวลงแรง อาทิ Adyen -6.5%, ASML -3.8%, Hermes -2.9%

ด้านตลาดค่าเงิน แม้ตลาดจะอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ทว่า เงินดอลลาร์กลับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ทำให้ล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อตัวลงสู่ระดับ 102 จุด ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจเลือกที่จะเข้าไปถือสินทรัพย์อื่นแทนการถือเงินดอลลาร์ เนื่องจากในช่วงนี้ เงินดอลลาร์อาจเผชิญปัจจัยกดดันจากปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ (Debt Ceiling)

ซึ่งสภาคองเกรสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ได้ เพิ่มความเสี่ยงที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ แนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรปและภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่ได้แย่มากตามที่ตลาดเคยประเมินไว้ ก็ยังเป็นปัจจัยช่วยหนุนเงินยูโร

อนึ่ง การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ได้ส่งผลให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวต้านแถว 1,930-1,940 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งมองว่าการปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านดังกล่าวของราคาทองคำ อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงเมื่อคืนที่ผ่านมา

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของประธาน ECB (Christine Lagarde) รวมถึงเจ้าหน้าที่ของ ECB ท่านอื่นๆ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดก็จะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟดเช่นกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img