วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“คมนาคม”ลุ้นศาลปกครองชี้ขาดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“คมนาคม”ลุ้นศาลปกครองชี้ขาดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

“คมนาคม” รอผลตัดสินศาลปกรองสูงสุดชี้ขาดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ก่อนชง ครม. “ศักดิ์สยาม” ย้ำขั้นตอนการทำงานต้องโปร่งใส่

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ระบุว่า ร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ รฟม.จะลงนามบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ที่ชนะการประมูล อยู่ขั้นตอนของฝ่ายบริหาร รฟม.กำลังพิจารณาดำเนินการ เนื่องจากร่างสัญญาได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด และรายงานคณะกรรมการ รฟม.แล้วเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2566

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อได้ ต้องรอให้กระบวนการศาลปกครองพิจารณาจนถึงที่สุดเสียก่อน โดยหากศาลปกครองสูงสุดตัดสินแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็พร้อมที่จะเสนอร่างสัญญาไปยังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน

รายงานข่าวระบุว่า กล่าวว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในศาลปกครองมี 3 คดี ประกอบด้วย

1.คดีเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะในการประมูลครั้งที่ 1 ขณะนี้รอศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากาษา หลังจากให้ตุลาการผู้แถลงคดีปกครองได้นำเสนอคำแถลงการณ์คดีเรียบร้อยแล้ว และคดีนี้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองไปแล้ว

2.คดียกเลิกการประกวดราคาและคำสั่งของผู้ว่าการ รฟม.ที่มีคำสั่งและออกประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 และศาลปกครองกลางพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 ชี้ว่าการยกเลิกประมูลผลจากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์คัดเลือกในครั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด

3.คดีการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีล่าสุดที่ศาลปกครองกลางรับไว้พิจารณา ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนพิจารณา ยังไม่มีกำหนดนัดไต่สวนเพิ่มเติม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับรายงานหรือร่างสัญญาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวจาก รฟม. ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนว่าโครงการนี้จะต้องดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายอย่างโปร่งใส ดังนั้นจำเป็นต้องรอขั้นตอนยุติธรรม รอการพิจารณาคดีข้อพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนของศาลปกครองสูงสุดก่อน

“ตอนนี้ยังไม่ได้รับร่างสัญญาเพื่อให้พิจารณาในโครงการนี้ และกระทรวงฯ ก็มองว่าเรื่องนี้ต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลปกครองสูงสุดก่อน จึงจะดำเนินการในขั้นตอนอื่นๆ ได้ ซึ่งจะต้องรอการพิจารณาในคดีที่เกี่ยวกับประเด็นการจัดทำเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่”

แหล่งข่าว กล่าวว่า คดีในศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 มีเพียง 1 คดี คือ คดีการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าการที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอผลการประมูลต่อ ครม.จะรอศาลปกครองพิจารณาคดีประมูลครั้งที่ 2 ให้สิ้นสุดหรือไม่ เพราะอายุของรัฐบาลใกล้สิ้นสุดแล้ว

ทั้งนี้ คดีที่มีความคืบหน้าที่สุด คือ คดีเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะในการประมูลครั้งที่ 1 ที่รอศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา แต่กระทรวงคมนาคมคงไม่สามารถอ้างเหตุของการสิ้นสุดคดีประมูลครั้งที่ 1 เพื่อเสนอให้ ครม.พิจารณาผลประมูลครั้งที่ 2 ได้

การที่จะพิจารณาเห็นชอบร่างสัญญาจากการประมูลครั้งที่ 2 ต้องพิจารณากระบวนการคัดเลือกในครั้งที่ 2 ที่ขณะนี้ถูกกล่าวหาว่า มีการกำหนดเงื่อนไขอันเป็นการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดอย่างชัดเจน และอันเป็นความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกันการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ โดยมีการช่วยเหลือไม่ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้เสนอราคารายหนึ่งจนเป็นเหตุให้ผู้เสนอราคาที่ขาดคุณสมบัติ มีคุณสมบัติเข้าไปร่วมแข่งขันเป็นคู่เทียบกับผู้เสนอราคารายอื่นได้

นอกจากนี้ ในประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลครั้งที่ 2 ที่อาจทำให้เกิดสมยอมการประมูลหรือการฮั้วประมูลยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรมโดยศาลปกครองได้รับไว้พิจารณา และพรรคร่วมฝ่ายค้านก็ยังได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กับพวกในความผิดตามกฎหมายฮั้วประมูลและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

สำหรับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลและนำมาสู่การฟ้องศาลปกครอง 2 คดี และมีการยกเลิกการประมูล จนกระทั่ง รฟม.เปิดประมูลครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2565 และมีการยื่นฟ้องศาลปกครองในคดีกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img