วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สรรพากร”ลุยตรวจเข้มข้น“ขอคืนภาษี” พร้อมดึง“สตาร์ทอัพ”เข้าระบบเพิ่มขึ้น!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สรรพากร”ลุยตรวจเข้มข้น“ขอคืนภาษี” พร้อมดึง“สตาร์ทอัพ”เข้าระบบเพิ่มขึ้น!!

“สรรพากร” ลุยตรวจเข้มข้นขอคืนภาษี รับ 2-3 ปีที่ผ่านมาเจอทุจริตอื้อ เดินเครื่องแก้หลักเกณฑ์เพิ่มผู้เล่นธุรกิจ Service Provider หนุนเปิดโซลูชั่นช่วยยื่นภาษี อุ้มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเข้าระบบมากขึ้น

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปีนี้การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีการตรวจสอบรายละเอียดมากขึ้น โดยจะมีการเพิ่มเกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารในการขอคืนภาษีมากขึ้นสำหรับกลุ่มที่มีสัญญาณความเสี่ยง เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตในการยื่นขอคืนภาษีจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว

“ปีนี้มีการเพิ่มเกณฑ์สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการขอคืนภาษีเข้าไป เพราะก่อนหน้านี้มีการตรวจเจอแล้ว และจับได้แล้วว่ามีการทุจริตในการยื่นขอคืนภาษี เนื่องจากที่ผ่านมามีกระบวนการในการยื่นและคืนภาษีค่อนข้างเร็ว ทำให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น แต่คงบอกไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตแบบใด ดังนั้นปีนี้หากผู้ที่ยื่นขอคืนภาษีแล้ว 7 วันยังไม่ได้คืนภาษี ก็แปลว่าอาจจะมีสัญญาณอะไรในตัวผู้ยื่น จากปกติที่ยื่นภาษีแล้วจะได้คืนภาษีภายใน 3 วัน โดยปัจจุบันมีผู้อยู่ในฐานภาษี 11 ล้านราย เป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ 4 ล้านราย โดยในจำนวนนี้กว่า 90% เป็นการยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์” นายลวรณ กล่าว

นอกจากนี้ กรมสรรพากรอยู่ระหว่างเตรียมแก้หลักเกณฑ์เพื่อเปิดทางให้สถาบันการเงินและสตาร์ทอัพซอฟท์แวร์เฮ้าส์ ที่เชี่ยวชาญระบบบัญชีและภาษีสามารถเป็นผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลระบบบัญชีและภาษีรวมถึงสามารถยื่นภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Tax Service Provider) ได้ เพื่อให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Service Provider ที่ได้รับใบอนุญาติจากกรมสรรพากรแล้ว ประมาณ 20 ราย โดยคาดว่าภายในเดือน มี.ค. 2566 น่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ เนื่องจากในปีนี้กรมฯ มีการปรับกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น และอยากทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจตั้งใหม่ที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการด้านภาษีอย่างมาก ดังนั้นการอัพเกรดบริการ Service Provider ให้มีบริการ Tax Service Provider ให้สามารถใช้ซอฟท์แวร์ด้านภาษีและบัญชีมาบริการลูกค้าในกลุ่มดังกล่าว เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลในเรื่องการชำระภาษีให้ถูกต้อง

“ปัจจุบันสถาบันการเงินยังไม่สามารถทำตรงนี้ได้ เราก็จะแก้เกณฑ์ให้สามารถทำได้ โดยจะขยายบทบาทให้ทำได้ตั้งแต่ทำบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ทำเพย์เม้น ไปจนถึงกระบวนการยื่นภาษีต่าง ๆ โดยกรมสรรพากรอย่างเห็นภาพว่าบริษัทตั้งใหม่ หรือบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟท์แวร์ด้านบัญชีและภาษี มีการยกระดับธุรกิจซอฟท์แวร์เฮ้า พัฒนาตนเองมาให้บริการในส่วนนี้ ก็จะเป็นการต่อยอดการให้บริการลูกค้าไปในตัวด้วย ขณะที่ผู้ให้บริการปัจจุบัน 20 ราย ก็ต้องปรับตัว เพื่อตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าให้อยากมาเข้าระบบภาษีมากขึ้น” นายลวรณ กล่าว

อย่างไรก็ดี ในส่วนของความคืบหน้าเกี่ยวกับภาษีการขายหุ้นนั้น ขณะนี้กฤษฎีกาได้มีการตรวจร่างกฎหมายเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอนำขึ้นทูลเกล้าฯ ส่วนจะเป็นเมื่อไหร่คงต้องดูความเหมาะสมในหลาย ๆ เรื่อง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img