วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightมุมมองลงทุนปี 66 ตลาดหุ้นโลกผันผวน “จัดพอร์ตกระจายเสี่ยง-เน้นตราสารหนี้”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มุมมองลงทุนปี 66 ตลาดหุ้นโลกผันผวน “จัดพอร์ตกระจายเสี่ยง-เน้นตราสารหนี้”

กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ เปิดมุมมองการลงทุนปี 66 ในงานสัมมนา KRUNGSRI EXCLUSIVE Economic Outlook 2023 : Investment Insights for Year Ahead ชี้ตลาดหุ้นโลกยังคงผันผวน แนะจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยง ชูลงทุนในตราสารหนี้ พร้อมจับตาหุ้นจีนหลังเปิดประเทศ

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีนี้ ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่าการยกเลิกนโยบาย Zero Covid และการเปิดประเทศของจีนถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีนยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้ เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังเป็นขาลงอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายโลกที่มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่อง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงสูงกว่าช่วงก่อนโควิด สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ 3.7% ในปี 2566 และ 3.9% ในปี 2567 ปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้าไทยเป็นจำนวนมาก คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 25.5 ล้านคนในปี 2566 และ 35 ล้านคนในปี 2567 ซึ่งทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น นำมาสู่การจ้างงานและการฟื้นตัวของรายได้ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้นตามไปด้วย สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อยังคงมีความน่ากังวล และภาวะดอกเบี้ยในประเทศยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ด้วยภาพเศรษฐกิจไทยที่ยังมีเป็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ดังนั้นประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะไม่ได้หยุดอยู่ที่ระดับ 1.5% ต่อปี เพื่อตอบรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีการปรับตัวดีขึ้น

ดร.ดอน นาครทรรพ

ขณะที่ นายวิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้สรุปภาพรวมการลงทุนว่า ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา ตราสารหนี้และหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยตลาดหุ้นโลก -20%  ตลาดตราสารหนี้ -16%  แม้จะอยู่ในช่วง Bear Market หรือ ภาวะตลาดที่ดัชนีหลักทรัพย์และราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย แต่ดัชนี S&P500 ก็ยังมี Mini Rally หลายครั้ง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +10.5% และจากเหตุการณ์ในอดีตหลังจากปีที่ตลาดอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก ก็มักจะตามมาด้วยตลาดที่ฟื้นดีมากในปีถัดมา เช่น ปี 2551 และปี 2561 ที่ตลาดมีการปรับตัวลดลง แต่ในปี 2552 และปี 2562 ตลาดก็กลับมาฟื้นตัวได้ดี เช่นเดียวกับการลงทุนในปี 2566  คาดว่าตลาดน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีเช่นกัน

รอจังหวะครึ่งปีหลังเพิ่มน้ำหนักการลงทุน

สำหรับตลาดหุ้นโลก (Global Equity) ถึงแม้จะมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ตลาดมีโอกาสกลับเป็นขาขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังหากเศรษฐกิจเป็น Soft Landing ดังนั้น ให้รอจังหวะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในช่วงกลางปีโดยจุดที่น่าสนใจเข้าลงทุน คือ S&P500 ที่ 3,600-3,700 จุด ส่วนตลาดหุ้นไทย (Thai Equity) มองเป้า SET Index 1,800 จุดในสิ้นปี 2023 แนะนำหาจังหวะเพิ่มน้ำหนักลงทุนที่ระดับ 1,580-1,640 จุด สำหรับ REITs นอกจากให้ Yield สูง ยังมีโอกาสรับประโยชน์จากค่าเช่าที่ปรับเพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อ แนะนำหาจังหวะเพิ่มน้ำหนักเมื่อตลาดย่อตัว ในส่วนของตลาดทองคำ หากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย การลงทุนในทองคำมักให้ผลตอบแทนดี แนะนำหาจังหวะเพื่อเพิ่มน้ำหนักที่ราคา 1,730-1,800 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ และสำหรับค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าและผันผวนมากขึ้น โดยประเมินทิศทางค่าเงินบาทปีนี้จะอยู่ในกรอบ 31-34 บาท / ดอลลาร์สหรัฐ แนะนำเลือกกองทุนที่ทำ FX Hedging เช่น KFHGOLD

วิน พรหมแพทย์

จัดพอร์ตแบบ Core-Satellite ชิงโอกาสระยะสั้น สร้างผลตอบแทนระยะยาว

ทั้งนี้ วิน พรหมแพทย์ ยังแนะนำให้นักลงทุนแบ่งเงินลงทุนเป็นพอร์ตหลัก หรือ Core Portfolio ในสัดส่วนมากกว่า 80%  และ Satellite Portfolio สัดส่วนน้อยกว่า 20% สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง-สูง แนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน  5 “กองทุนเรือธง” เป็น Core Portfolio ประกอบด้วย KF-CSINCOM  KFCORE  KFGBRAND  KFESG  K-CHANGE  ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับคะแนน 4-5 ดาวจาก Morningstar บริษัทชั้นนำของโลกด้านการจัดอันดับกองทุนรวม

แบล็คร็อค เผย 3 ธีมการลงทุนที่สำคัญในปี 2566

ด้าน Mr.Thomas Taw, Head of Investment Strategy and Product Consulting for the APAC ETF business, BlackRock ได้ให้มุมมองการวิเคราะห์สถานการณ์ของตลาดทุนทั่วโลกไว้ว่า การลงทุนในตราสารหนี้ส่งสัญญาณว่าจะกลับมาในปลายปีที่แล้ว โดยเงินลงทุนกว่า 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะกลับเข้าในตราสารหนี้ประเภท High Yield และ Investment Grade Bond ตลอดไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้สินทรัพย์ High Yield ถูกขายออกมามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น เงินทุนไหลไปยังหุ้นกลุ่ม Defensive ตามสถานการณ์การลงทุนที่เต็มไปด้วยความระมัดระวัง ส่วนตลาดที่มีเงินไหลเข้ามากที่สุดคือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ตามมาด้วยเอเชียแปซิฟิก (APAC) ที่ได้รับประโยชน์จากการที่จีนเปิดประเทศ ในขณะที่ตลาดยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) เงินไหลกลับมาเข้ามากว่า 13,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ แบล็คร็อคได้แนะนำกลยุทธ์ในการลงทุนไว้ 3 ธีม ดังนี้

Mr.Thomas Taw

1.Pricing the damage ราคาของสินทรัพย์ในตลาดยังไม่รับรู้ถึงผลกระทบและความรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องของเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว คาดว่าปีนี้อาจมีการปรับลดประมาณการผลประกอบการของหุ้นทั่วโลกลง  ในปีนี้การเลือกลงทุนในหุ้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียดเป็นรายกลุ่มธุรกิจ (Sector) เลือกลงทุนในกลุ่มที่มีความแข็งแกร่ง ได้รับผลกระทบน้อยหากในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นจริง ซึ่งแบล็คร็อคยังให้น้ำหนักกับหุ้นในกลุ่มวัฏจักร เช่น กลุ่มพลังงานและธนาคาร

2.Rethinking bonds มองหาโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ Yield จะช่วยลดความเสี่ยงการถือครองระยะยาวได้

3.Living with inflation ภาวะเงินเฟ้อยังคงมีผลต่อการลงทุนอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และหาก Fed ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้จะต้องปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมาอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยลง แต่ยังคงให้ผลตอบแทนในระดับที่สามารถรับได้ โดยแบล็คร็อคประเมินว่าเม็ดเงินลงทุนจากกองทุนใหญ่ ๆ ทั่วโลกจะปรับสัดส่วนมาอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำลง อย่างเช่น Defensive Equities และ Investment Grade Bond โดยแบล็คร็อคยังมีมุมมองเชิงลบกับตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และให้มุมมองเชิงบวกกับตลาดหุ้นใน Emerging Market ที่ได้รับประโยชน์จากการที่จีนเปิดประเทศ ส่วนสินทรัพย์ในกลุ่มตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และมีผลตอบแทนที่อยู่เพียงพอน่าจะเป็นกลุ่มที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในปีนี้

วิจัยกรุงศรี ชี้ DeFi ไม่ได้มาเพื่อดิสรัปต์ธนาคาร

บริการทางการเงินแบบไม่รวมศูนย์ หรือ DeFi (Decentralized Finance) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้ใช้งานบริการทางการเงินมาดูแลระบบหรือตรวจสอบแต่ละธุรกรรมร่วมกัน ซึ่งมีข้อดีในเรื่องความโปร่งใสของข้อมูล ความรวดเร็ว ตลอดจนลดความเสี่ยงของระบบที่พึ่งพาฐานข้อมูลเดียว ด้วยเหตุนี้ DeFi จึงกำลังเป็นกระแสที่มาแรงอยู่ในปัจจุบันนี้  อย่างไรก็ตาม ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ผู้บริหารฝ่ายวิจัยธุรกิจและอุตสาหกรรม สายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มองว่า DeFi จะยังไม่ดิสรัปต์สถาบันการเงินหรือธนาคารในอนาคตอันใกล้ รวมถึงในระยะยาว เนื่องจากผู้คนยังคงมีความเชื่อมั่นในการบริการและทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านธนาคารมากกว่า ขณะเดียวกัน DeFi ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญในการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ โดยอาจจะมีการพัฒนาการให้บริการทางการเงินรูปแบบรวมศูนย์ที่มีอยู่ (Centralized Finance-CeFi) เข้ากับ DeFi หรือจัดตั้งหน่วยงานพิเศษในการช่วยดูแล DeFi โดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม

ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img