วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ทอท.”เดินหน้าโครงการ Airport City
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ทอท.”เดินหน้าโครงการ Airport City

ทอท. เดินหน้าโครงการ Airport City เตรียมเปิดประมูลผู้รับเหมาควบคู่พิจารณาข้อเสนอเอกชน ด้านการรับมอบ 3 สนามบินกำลังยื่นขอใบอนุญาต CAAT คาดครึ่งปีแรกปี 67 แล้วเสร็จ

ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการ ใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาที่ดินรอบ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า ขณะนี้กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ.2556 เพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมบางส่วน ให้เป็นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อ 723 ไร่ ข้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในกิจการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณ ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ตามแผนการพัฒนา Airport City

ทั้งนี้ทอท. จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมา งานโยธาโครงการก่อสร้างถนน-สะพานเชื่อมระหว่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าสู่พื้นที่, วางระบบสาธารณูปโภค อาทิ น้ำประปา ไฟฟ้า ฯลฯ ภายในพื้นที่ ควบคู่กับการ เปิดรับข้อเสนอภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมพัฒนาโครงการ Airport City

โดยจะมุ่งพัฒนาโครงการที่สามารถสนับสนุน เสริมศักยภาพธุรกิจด้านการบิน อาทิ ตลาด กลางสินค้าเกษตร, ธุรกิจศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้า เกษตรก่อนส่งออก, ศูนย์กระจายสินค้าส่งออก, อาคาร ให้เช่าทำสถานที่พักสินค้าออนไลน์หรือสินค้าจากต่างประเทศ

สำหรับโครงการ Airport City เหมือนไม่มี ความคืบหน้าเพราะผังเมืองเป็นกรอบกำหนดว่าต้องใช้ ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับ เกษตรกรรม ไม่สามารถใช้ทำประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับ สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการได้ แต่เมื่อสามารถปลดล็อกเงื่อนไขข้อนี้ได้ ทอท. ก็จะ เริ่มดำเนินโครงการ Airport City ต่อได้ ซึ่งการก่อสร้าง คงต้องใช้เวลา โดยถนน ระบบสาธารณูปโภคต้องเสร็จก่อน เพื่อเปิดให้เอกชนเข้าไปดำเนินการต่อ ส่วนการคัดเลือกเอกชน คัดเลือกโครงการคงต้องเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่เข้ามาดำเนินการ

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า กรอบการดำเนินงาน โยธา และสาธาณูปโภคโครงการ Airport City น่าจะใช้เวลาราว 1 ปี ซึ่งระหว่างนั้นก็จะทยอยพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ในโครงการโดยสามารถทยอยเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานได้ควบคู่กันไป

ส่วนความคืบหน้าการรับมอบท่าอากาศยานอุดรธานี, ท่าอากาศยานบุรีรัมย์, และท่าอากาศยานกระบี่ จากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการขอใบอนุญาตยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสนามบินสาธารณะต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT เบื้องต้นคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ซึ่งจะเข้าสู่ปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 2566-ก.ย. 2567)

โดยหลังจากรับมอบทั้ง 3 แห่งแล้ว จะพัฒนา- ยกระดับท่าอากาศยานอุดรธานี และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ขึ้นเป็นศูนย์กลางการบิน (HUB) ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สามารถรองรับการบินตรงเส้นทางบินระหว่าง ประเทศ เพื่อเป็นประตูเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา และ สปป.ลาว

ส่วนท่าอากาศยานกระบี่จะติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อยกระดับขึ้นเป็นท่าอากาศยานนานาชาติเทียบเท่าท่าอากาศยานภูเก็ต

“ที่ผ่านมาทั้ง 3 ท่าอากาศดำเนินกิจการโดย ทย. จึงไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่เมื่อ AOT จะเข้าไปบริหาร ทย. จึงต้องยื่นขอใบอนุญาตให้เรียบร้อยก่อนจะส่งมอบ ซึ่ง การบริหารจัดการก็อยู่ตามกรอบเวลาระยะแรกไม่ได้ คาดหวังว่าจะเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร หรือปรับปรุงอาคาร ผู้โดยสาร แต่จะดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถของ ท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่งตามแผนเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็น ศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
     

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img