วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสงกรานต์คึกคักในรอบ 3 ปี เงินสะพัด 2.3 หมื่นล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สงกรานต์คึกคักในรอบ 3 ปี เงินสะพัด 2.3 หมื่นล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเทศกาลสงกรานต์หยุดยาว 5 วันคึกคัก หลายจังหวัดจัดงานเฉลิมฉลองเต็มรูปแบบ คาดเงินสะพัด 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.3% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า  ประเมินว่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยช่วงวันหยุดยาว 5 วัน ของเทศกาลสงกรานต์ 2566 ระหว่างวันที่ 13-17 เม.ย. 2566 (วันที่ 17 เม.ย. 2566 เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันสงกรานต์กรณีพิเศษ) น่าจะมีจำนวน 5.1 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 28.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวปีนี้คาดว่ามีมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยช่วงวันหยุดยาว  คาดคึกคักมากขึ้นในรอบ 3 ปี เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2566  ตลาดไทยเที่ยวไทยฟื้นตัวค่อนข้างดีและกลับมาเติบโตสูงกว่าปี 2562 จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมีจำนวนประมาณ 28.1 ล้านคน-ครั้ง เติบโตประมาณ 46.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตประมาณ 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา ทางการได้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 จำนวน 5.6 แสนสิทธิ ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 2566 ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวไทยอย่างรวดเร็ว และเป็นปัจจัยหนุนการท่องเที่ยวให้เติบโตดีต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคนกรุงเทพฯ 44.7% มีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ (หลักๆ จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน และกลุ่มที่ท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมญาติพี่น้องด้วย) โดยเกือบทั้งหมดมีแผนท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่คนกรุงเทพฯ มีแผนส่วนใหญ่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางทะเล อาทิ พัทยา หัวหิน เกาะช้าง เป็นต้น

ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์  2566 ของกลุ่มตัวอย่างคนกรุงเทพฯ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5,250 บาทต่อคนต่อทริป ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 8% จากผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนโควิดระบาด มองว่าการปรับเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมาจากหลายปัจจัย เนื่องจากในปีนี้หลายพื้นที่กลับมาจัดงานประเพณีสงกรานต์กันอย่างคึกคัก

รวมถึงภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดงานแสดงดนตรี การออกร้าน เป็นต้น ซึ่งช่วยหนุนให้เกิดการใช้จ่ายระหว่างการท่องเที่ยว นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวได้กลับมาเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตามปกติ อีกทั้งสถานการณ์ท่องเที่ยวกลับสู่ภาวะปกติ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวลดการทำโปรโมชั่นราคาลง

อย่างไรก็ดี แม้การใช้จ่ายต่อคนต่อทริปจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2562 โดยในภาวะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น แม้จะไม่กระทบแผนการเดินทาง แต่กระทบการใช้จ่ายบางประเภท จากผลสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกเดินทางท่องเที่ยวปกติ แต่เลือกที่จะปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างลดการใช้จ่ายบางประเภทอย่างการซื้อของฝากและลดกิจกรรมสันทนาการ การวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้าอย่างการจองที่พักหรือตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า และเดินทางใปยังจังหวัดใกล้ๆ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img