วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“แบงก์ชาติ”คาดปี66นี้เศรษฐกิจโต3.6% รอดูนโยบายประชานิยมของรัฐบาลใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“แบงก์ชาติ”คาดปี66นี้เศรษฐกิจโต3.6% รอดูนโยบายประชานิยมของรัฐบาลใหม่

“แบงก์ชาติ” รอดู “นโยบายประชานิยม” ของรัฐบาลใหม่ พร้อมเดินหน้าประสานนโยบายการเงินการคลัง แจงความจำเป็นขึ้นดอกเบี้ย เหตุเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น คาดปีนี้โต 3.6% ถึงเวลาต้องถอนคันเร่ง

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่พรรคการเมืองหลายพรรค ใช้นโยบายหาเสียง “ประชานิยม” ว่า จะต้องไปดูในแต่ละนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งหากเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายการเงินและการคลัง ก็คงต้องมีการประสานนโยบายกันในระดับหนึ่งต่อไป จากช่วงโควิด-19 ที่เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินและการคลัง แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดี จึงเป็นเหตุผลให้ภาคการเงินค่อย ๆ ถอนคันเร่ง เช่นเดียวกับภาคการคลัง

สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรอบล่าสุดนั้น คณะกรรมการ กนง. ยังมองเห็นถึงความจำเป็น เพราะยังเห็นพัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อในภาพใหญ่ แม้จะยังมีการปรับลดลง แต่ก็ยังไม่ได้ลดลงถึงจุดที่จะสบายใจได้ และเมื่อมาดูองค์ประกอบของอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ก็ยังมีแนวโน้มที่อยู่ในระดับสูงอยู่ และปีนี้ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 28 ล้านคน จะยิ่งเป็นการกระตุ้น ดังนั้น กนง. จำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนัก ดูความเสี่ยงถึงสิ่งที่จะต้องดูแลในตอนนี้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำอะไรที่แรงขึ้นในอนาคต

“ถามว่าจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ตรงไหน ต้องบอกว่า กนง. ไม่ได้ปักหมุดชัดเจน แต่มีการพิจารณาดูแนวโน้มในปัจจุบัน คาดการณ์ในอนาคต เมื่อข้อมูลใหม่เข้ามา ก็มีการอัปเดท เพื่อให้สะท้อนนโยบายการเงินว่ายังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่หรือไม่ หลักการคือต้องรักษาความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ส่วนที่ว่าดอกเบี้ยแท้จริงควรเป็นเท่าไหร่ คงต้องขึ้นอยู่กับบริบทของเศรษฐกิจด้วย เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นราว 3-4% ก็ไม่ควรเห็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ”นายปิติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ชี้แจงในการประชุม Monetary Policy Forum 1/2023 ต่อนักวิเคราะห์ ว่า ที่ประชุม กนง. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2566 โต 3.6% ปี 2567 ที่ 3.8% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง และเริ่มกลับเข้าสู่เป้าหมายไตรมาส 2/2566 โดยปีนี้อยู่ที่ 2.9% และปี 2567 อยู่ที่ 2.4% แต่เงินเฟ้อยังคงมีความเสี่ยงด้านสูง ขณะที่ส่งออกอาจจะไม่ได้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงค่อนข้างเยอะ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img