วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightโพลวันแม่ใช้จ่ายสะพัด 10,600 ล้านบาท พวงมาลัย-ดอกไม้ของขวัญสื่อรักแทนใจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โพลวันแม่ใช้จ่ายสะพัด 10,600 ล้านบาท พวงมาลัย-ดอกไม้ของขวัญสื่อรักแทนใจ

โพลมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจการใช้จ่ายประชาชนช่วงวันแม่เงินสะพัด 10,600 ล้านบาท ขณะที่พวงมาลัย-ดอกไม้ของขวัญยอดนิยมซื้อให้แม่ รองลงมาเป็นให้เงินสด-ทองคำ

นายวาทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนเกี่ยวกับวันแม่ โดยเป็นการสำรวจระหว่างวันที่ 2-5 ส.ค.66 กลุ่มตัวอย่าง 1,250 คนทั่วประเทศ พบว่า การใช้จ่ายอยู่ที่ 10,600 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 2.3% จากปี 65 แบ่งเป็นเม็ดเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายพาแม่เที่ยว 740 ล้านบาท และกิจกรรมอื่น ๆ ประมาณ 9,800 ล้านบาท

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 60.9% ตอบว่าจะไปพบแม่ในช่วงวันแม่ ขณะที่อีก 39.1% ตอบว่าไม่ได้ไป ทั้งนี้ กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างวางแผนในช่วงวันแม่ปีนี้ อันดับ 1 คือ พาแม่ไปทานข้าว อันดับ 2 ทำกิจกรรมร่วมกัน อันดับ 3 ไปทำบุญ อันดับ 4 ไปเที่ยวต่างจังหวัด (ค้างคืน) อันดับ 5 ไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

ส่วนของขวัญยอดนิยมที่ตั้งใจจะซื้อให้ในวันแม่ พบว่า อันดับ 1. คือ พวงมาลัย-ดอกไม้ อันดับ 2. ให้เงินสด-ทองคำ อันดับ 3 .เครื่องนุ่งห่ม-รองเท้า อันดับ 4. เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย อันดับ 5. เครื่องใช้ไฟฟ้า

ส่วนการวางแผนพาแม่ไปเที่ยวต่างจังหวัด ในช่วงวันหยุด 12-14 ส.ค.นี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 84.8% ตอบว่าไม่พาไป และอีก 15.2% ตอบว่าพาไป โดยจังหวัดที่ได้รับความนิยม ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น ราชบุรี ชลบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี และตราด เป็นต้น

สำหรับงบประมาณการใช้จ่ายในช่วงวันแม่ปี 66 เมื่อเทียบกับปีก่อน จะพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 42.7% ตอบว่างบประมาณไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน

ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง 36.8% ตอบว่า งบประมาณลดลง เนื่องจากต้องประหยัดมากขึ้น มีภาระเพิ่มขึ้น เป็นหนี้มากขึ้น และเศรษฐกิจยังไม่ดี ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีก 20.6% ตอบว่ามีงบประมาณใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวันพิเศษ คาดว่าเศรษฐกิจกำลังจะดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมามีการใช้จ่ายไปแล้ว จึงถือเป็นการติดลบในสถานการณ์ปกติใกล้เคียงกับปีก่อน

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจในปี 52 พบว่าพฤติ กรรมการใช้จ่ายในช่วงวันแม่ปี 66 นี้ เป็นครั้งที่ 2 ที่เม็ดเงินสะพัดลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 63 ที่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้วันแม่ในปี 63 เม็ดเงินในการใช้จ่ายลดลงถึง 28% จากปี 62

สำหรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแบบ K เชฟ ซึ่งกลุ่มที่ยังได้อานิสงส์ยังเป็นภาคการท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และ ไอที ขณะที่ธุรกิจภาคอื่นๆ เริ่มนิ่ง เห็นสัญญานซึมตัวลง เริ่มตั้งแต่การเมืองไม่นิ่ง มีความไม่แน่นอน โดยเริ่มตั้งแต่มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจขาดแรงกระตุ้น จึงเริ่มเห็นสัญาณความผิดปกติของกำลังซื้อที่ไม่คึกคัก และแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอ่อนแอลง ประกอบกับช่วงไตรมาส 3 ไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยว

ทั้งนี้หวังว่าจะได้รัฐบาลใหม่ในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ถ้าตั้งรัฐบาลได้ เศรษฐกิจจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งการจับมือกันได้ของพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ทำให้เริ่มเห็นความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลมากขึ้น เพราะจะทำให้เสียงเกิน 121 เสียง

ทั้งนี้คาดว่าหากรวมกับพรรคอื่นจะได้เสียงเกิน 250 เสียง แต่ก็ต้องจับตาในส่วนของวุฒิสภาด้วยว่า จะสนับสนุนเสียงให้พรรคเพื่อไทยหรือไม่ โดยเฉพาะการเสนอชื่อของนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ต้องรอดูศาลรัฐธรรมนูญว่า จะโหวตชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีซ้ำได้หรือไม่ หากสามารถโหวตได้ อาจถูกปฎิเสธโดยสว. และอาจมีผลต่อการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนอื่นด้วยเช่นกัน

“ทางออกทางการเมือง คือ ประเทศต้องมีรัฐบาล ทุกฝ่ายต้องเสียสละเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศ กำหนดนโยบาย บริหารประเทศ และทำงบประมาณ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในปลายปี”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img