วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightรีด‘ภาษีความเค็ม’มีโซเดียมสูงเก็บแพง ‘สรรพากร’ประเดิมที่‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รีด‘ภาษีความเค็ม’มีโซเดียมสูงเก็บแพง ‘สรรพากร’ประเดิมที่‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’

“สรรพสามิต” เตรียมเก็บภาษีความเค็มตามปริมาณโซเดียม คาดเพิ่มพิกัดภาษีใหม่ใช้เกณฑ์เดียวกับภาษีความหวาน เผยคนไทยบริโภคโซเดียมวันละ 3,600 กรัมต่อคน มากกว่ามาตรฐานที่แพทย์แนะนำที่ระดับวันละ 2,000 กรัมต่อคน

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างศึกษาภาษีความเค็ม โดยเป็นการพิจารณาการเก็บภาษีตามปริมาณโซเดียม ซึ่งปัจจุบันเรื่องดังกล่าว กรมฯยังอยู่ระหว่างการคุยกับกลุ่มแพทย์ และสาธารณสุข เนื่องจากยังไม่มีสินค้าในพิกัดกรมที่ชัดเจนว่าจะเก็บภาษีได้

ทั้งนี้ต้องดูว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรที่คนไทยบริโภคมาก และมีโซเดียม ซึ่งอาจจะต้องเพิ่มพิกัดใหม่ และการพิจารณามาตรฐานวัดโซเดียมว่า แต่ละคนไม่ควรบริโภคโซเดียมเกินวันละเท่าไหร่ เป็นหลักในการเก็บภาษีความเค็ม

อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับแพทย์พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,600 กรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่แพทย์แนะนำคือที่ระดับ 2,000 กรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นกรมฯจึงสนใจที่จะเก็บภาษีความเค็ม เพื่อช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้บริโภคโซเดียมลดลง

ส่วนวิธีการจัดเก็บภาษี ก็จะเป็นเช่นเดียวภาษีความหวานคือ ยิ่งมีโซเดียมสูง ยิ่งเก็บภาษีอัตราแพง ส่วนยิ่งต่ำก็เก็บอัตราภาษีถูก เพื่อลดการบริโภคโซเดียม เช่นเดียวกับที่คนไทยลดการบริโภคน้ำตาล รวมทั้งมีการกำหนดอัตราเป็นขั้นบันได เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้ คาดว่าเริ่มจากสินค้าอุตสาหกรรมก่อน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

สำหรับการจัดเก็บภาษีความหวาน เพื่อให้คนไทยเปลี่ยนพฤติกรรม บริโภคความหวานลดลงเนื่องจากสินค้าเครื่องดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลมบรรจุขวดนั้น มีปริมาณน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่มาก จึงได้เริ่มการจัดเก็บภาษีความหวาน เพื่อช่วยสังคมคนไทย ลดโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 

ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  น้ำหวานที่มีน้ำตาล 10-14 กรัมต่อน้ำ 100 มล. เก็บภาษีที่ 1 บาทต่อลิตร ซึ่งในขณะนั้นมีน้ำหวานที่มีน้ำตาลเกิน 10 กรัมต่อน้ำ 100 มล. อยู่ที่  2,993  ล้านลิตรต่อปี แต่พอได้ปรับขึ้นภาษีความหวานเฟส 3 ล่าสุดจัดเก็บภาษีน้ำหวานที่มีน้ำตาล 10-14 กรัมต่อ น้ำ 100 มล.  ที่ 3 บาทต่อลิตร ทำให้น้ำหวานกลุ่มนี้มีการผลิตลดลงเหลือเพียง 728 ล้านลิตรเท่านั้น 

ส่วนกรณีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เริ่มมีการผสมในเครื่องดื่มมากขึ้นในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีการบรรจุในพิกัดภาษีสรรพสามิต เนื่องจากต้องรอติดตามการศึกษาจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO และปรึกษากับกระทรวงสาธารณสุขด้วย 

โดยสารให้ความหวานก็มีหลายหลากชนิดซึ่งมีทั้งดีและไม่ดีต่อร่างกายหากไม่มีการห้ามก็จะนำมาเพิ่มในพิกัดภาษีเก็บควบคู่กับภาษีความหวาน  แต่ถ้าผลของ WHO ออกมาว่าสารแทนความหวานเป็นอันตราย และห้ามใส่ผสมในเครื่องดื่มก็ไม่ต้องทำการจัดเก็บภาษีแล้ว 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img