วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“เงินบาทอ่อนค่า”จับตาการเมืองในประเทศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทอ่อนค่า”จับตาการเมืองในประเทศ

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “อ่อนค่าลง” หลังรายงานการประชุมเฟดล่าสุดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ ผนวกกับนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในช่วงจังหวะย่อตัว จับตาการเมืองในประเทศ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ หลังรายงานการประชุมเฟดล่าสุด ยังคงสะท้อนว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าเทขายหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth (Tesla -3.2%, Meta -2.5%) ท่ามกลางความกังวลว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ หลังรายงานการประชุมเฟดล่าสุด สะท้อนว่า เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ต่างยังคงกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อและยังคงต้องการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อ ทำให้โดยรวม ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลดลง -1.15% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.76%

ส่วนตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 ย่อตัวลงเล็กน้อย -0.06% ตามการปรับตัวลดลงของบรรดาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน อาทิ หุ้นธนาคาร HSBC -1.8%, Rio Tinto -0.6%, LVMH -0.2% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรป ยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้างจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม Healthcare อาทิ Novo Nordisk +1.7%

ขณะที่ตลาดบอนด์ ความกังวลของผู้เล่นในตลาดว่าเฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (สะท้อนผ่านการปรับเพิ่มโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเป็นมากกว่า 40% จากข้อมูล CME FedWatch Tool) หลังรับรู้รายงานการประชุมเฟดล่าสุด ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 4.27% (เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 4.18-4.28%) ทั้งนี้ เรามองว่า การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ไม่ได้เหนือความคาดหมายของเรา และเรากลับมองว่า เป็นเรื่องที่ดี สำหรับนักลงทุนที่รอทยอยเข้าซื้อบอนด์ในจังหวะย่อตัว

ด้านตลาดค่าเงินนั้น เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตลาดทยอยรับรู้รายงานการประชุมเฟด ที่ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อของเฟดมากขึ้น นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางตลาดการเงินที่ผันผวนและปิดรับความเสี่ยง ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 103.5 จุด (กรอบ 102.9-103.6 จุด)

ส่วนราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 1,922 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจทยอยเข้าซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) รวมถึงรายงานดัชนี Leading Indicator ของสหรัฐฯ

ส่วนไทยควรจับตาสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หลังรัฐสภาเตรียมจัดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกฯ อีกครั้ง ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจเริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า แม้เงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง จากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว แต่ทว่า เรามองว่า สถานการณ์การเมืองไทยที่เริ่มมีความวุ่นวายน้อยลง และแนวโน้มการโหวตเลือกนายกฯ รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาลผสมใหม่ก็มีความชัดเจน ก็อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในฝั่งสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งเราเริ่มเห็นแรงขายหุ้นไทยที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี แรงขายบอนด์อาจยังพอมีอยู่บ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ทว่า เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่อาจรอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น เพื่อทยอยเข้าซื้อ ทำให้แรงขายบอนด์ไทยอาจไม่ได้รุนแรงมากนัก

อย่างไรก็ตาม ประเมินแนวต้านเงินบาทในโซน 35.50-35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังการจัดตั้งรัฐบาลและการโหวตเลือกนายกฯ มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาด อย่าง บรรดาผู้ส่งออกต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ในจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลงใกล้โซนแนวต้านดังกล่าว ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทจะยังไม่กลับมาแข็งค่าขึ้นชัดเจน จนกว่าการโหวตเลือกนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลผสมจะเสร็จสิ้น อย่างไรก็ดี เราประเมินแนวรับเงินบาทในระยะนี้ โซนแรกจะอยู่ในช่วง 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นแนวรับหลักที่สำคัญถัดไป

อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.30-35.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img