วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightคมนาคมพร้อมชงครม.เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คมนาคมพร้อมชงครม.เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

คมนาคมสั่งกรมการขนส่งทางรางศึกษาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ชี้มีความเป็นไปได้ พร้อมชงครม.หากรัฐบาลไฟเขียว

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงฯ ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางรางศึกษาวิเคราะห์กรณีค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพื่อให้สอดคล้องตามกลุ่มเป้าหมายผู้เดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางใน 2 กรณี แบ่งเป็น

กรณีให้สิทธิ 20 บาทตลอดสายกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

โดย ขร. ได้ประสานกรมบัญชีกลาง เรื่องข้อมูลจำนวนผู้มีรายได้น้อย เทียบเคียงผู้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการให้สิทธิ 20 บาทตลอดสายกับประชาชนกลุ่มดังกล่าว เมื่อพิจารณาข้อมูลพบว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6,061 คน-เที่ยว หรือ 0.56% จากแรงจูงใจด้านราคาค่าโดยสารที่ลดลง อีกทั้งเมื่อวิเคราะห์เงินที่ภาครัฐต้องอุดหนุนกรณีผู้มีรายได้น้อย คาดว่าจะต้องใช้เงินอุดหนุน 34.63 หรือประมาณ 35 บาทต่อคน โดยคาดว่าจะใช้เงินอุดหนุนรวมประมาณ 307.86 ล้านบาทต่อปี

กรณีให้สิทธิ 20 บาทตลอดสาย สำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ

จากการวิเคราะห์โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2) พบว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มได้ประมาณ 104,296 คน-เที่ยว หรือ 9.59% จากปัจจัยบวกด้านราคาค่าโดยสารที่ลดลง

และเมื่อวิเคราะห์เงินที่ภาครัฐต้องอุดหนุนกรณีให้สิทธิสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ ประเมินว่าต้องใช้เงินอุดหนุน 17.47 บาท หรือประมาณ 17 บาทต่อผู้โดยสารที่เดินทางในระบบ และคาดว่าจะใช้เงินอุดหนุนรวม 5,446 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้หากภาครัฐจะจัดใช้นโบบายสำหรับประชาชนทุกคน จะต้องบูรณาการกับหน่วยงานของกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณที่รับผิดชอบทางการคลังของรัฐ เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเป็นในการอุดหนุนค่าโดยสารส่วนต่าง

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งเมื่อ ครม. อนุมัติคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยพบว่าประโยชน์ของนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่จะเกิดขึ้นทันที อาทิ

  • ลดระยะเวลาการเดินทางบนถนน ลดปัญหาการจราจรติดขัด
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
  • ลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพของประชาชนในประเทศ
  • ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
  • ส่งเสริมการใช้ระบบราง
  • ส่งเสริมแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 โดยการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน และฝุ่น PM 2.5
  • ส่งเสริมการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพของเมือง
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img