“สุรพงษ์” เร่งเปิดโครงการรถไฟฟ้สายสีชมพูเป็น ธ.ค.นี้ จากแผนเดิมเปิดบริการมิ.ย. 67 คาดให้ทดลองนั่งฟรี 1 เดือนก่อนเก็บค่าโดยสารเชิงพาณิชย์
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายนโยบาย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เร่งรัดการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (MRT สายสีชมพู) ให้เร็วขึ้น จากแผนเปิดให้บริการภายในเดือน มิ.ย. 67 เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดทดลองให้ประชาชนใช้บริการในเดือน ธ.ค.นี้ โดยจะทดลองให้บริการฟรี 1 เดือน และเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในเดือน ม.ค. – ก.พ.67
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสีชมพูจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด
1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) บางซื่อ-บางใหญ่ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
2. สถานีแครายตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
3. สถานีสนามบินน้ำตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
4. สถานีสามัคคีตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
5. สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
6. สถานีแยกปากเกร็ ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา ท่าปากเกร็ด
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ดตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
9. สถานีเมืองทองธานีตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทุบรี
10. สถานีศรีรัชตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) เชื่อมเข้ากับด้านในเมืองทองธานี
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
13. สถานีทีโอที ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
14. สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บน แขวงตลาดบางเขต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต
15. สถานีราชภัฏพระนคร ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
6. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
17. สถานีรามอินทรา 3 ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
18. สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
19. สถานีรามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
20. สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ
21. สถานีวัชรพลตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
22. สถานีรามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
23. สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
24. สถานีรามอินทรา 83 ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
25. สถานีปัญญาอินทรา ตั้งอยู่บน แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
26. สถานีนพรัตน์ ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
27. สถานีบางชัน ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
29. สถานีตลาดมีนบุรีตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
30. สถานีมีนบุรีตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี พร้อมอาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบ ‘โมโนเรล’ หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 28,000 คน ความเร็วของการเดินรถสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่การให้บริการปกติจะใช้ความเร็วเฉลี่ย 35-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยเป็นการเดินรถในเส้นทาง “ช่วงแคราย–มีนบุรี” หากเดินทางจากแครายไปถึงมีนบุรีแบบสุดสาย จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
สำหรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู เริ่มต้นจะคำนวณไว้ที่ 14-42 บาท เมื่อรวมกับ CPI แล้ว คาดว่าค่าโดยสารสรุปน่าจะอยู่ที่ 15-46 บาท อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาและขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เปิดให้บริการด้วย