วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สคบ.”ดึงร้านค้าออนไลน์เข้าระบบ นำร่อง“ช้อปปี้-ลาซาด้า”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สคบ.”ดึงร้านค้าออนไลน์เข้าระบบ นำร่อง“ช้อปปี้-ลาซาด้า”

“พวงเพ็ชร” เร่งสคบ.ปรับปรุงเว็บไซต์  ดึงร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์เข้าจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงป้องกันซื้อสินค้าได้ของไม่ตรงปก นำร่องช้อปปี้-ลาซาด้า

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อดึงร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์เข้าจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงหรือร้านค้าออนไลน์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะหากเกิดกรณีผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าแล้วได้รับสินค้าไม่ตรงตามสรรพคุณที่โฆษณา จะทำให้ทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบผู้กระทำผิดได้มาชดใช้ค่าเสียหาย

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มโครงผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งว่า ปัจจุบันมีข้อมูลประกอบธุรกิจขายตรงอยู่ในระบบที่อัพเดตบนเว็บไซต์แล้ว  877 ราย และผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง จำนวน 661 กว่าราย และยังมีผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงที่ยื่นจดทะเบียนที่ที่สำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภคหรือระบบออฟไลน์อยู่จำนวนมากที่ยังไม่ได้คีย์ข้อมูลลงระบบ เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีจำกัดทำให้ไม่สามารถคีย์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

สคบ. จึงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 67 เพื่อจัดจ้างบริษัทเอกชนคีย์ข้อมูลลงระบบเพื่อให้ข้อมูลเกิดการอัปเดตรวดเร็วมากขึ้น โดย สคบ. จะนำร่องใน 2 แพลตฟอร์มหลัก อย่างลาซาด้าและชอปปี้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ มีร้านค้าออนไลน์และผู้บริโภคเข้าใช้เป็นจำนวนมาก ก่อนขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันการเอารัดเอากับผู้บริโภคในยุคที่ผู้คนหันมาสั่งสินค้าออนไลน์

สำหรับรับร้องเรียนสินค้าและบริการในไตรมาส 3/66  มีจำนวน 6,305 เรื่อง เพิ่มขึ้น 4.3%  หากเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเรื่องร้องเรียนมากที่สุดคือ  การขายตรงและตลาดแบบตรง รองลงมาเป็นด้านฉลาก สัญญา และโฆษณา  โดยสินค้าและบริการที่ได้รับร้องเรียนสูงสุด คือ กลุ่มสินค้าและบริการทั่วไป 1,825 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็น การร้องเรียนให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสินค้าและบริการ รองลงมาเป็นผู้ประกอบการทั่วไป 771 เรื่อง เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการ และรถยนต์ 435 เรื่อง  ส่วนมากเป็นเรื่องการชำรุด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินออนไลน์ เนื่องจากมีความสะดวกสบาย จัดส่งถึงที่ ราคาย่อมเยา มีให้เลือกได้หลากหลาย แต่ปัญหาคือร้านค้าบนออนไลน์หลายแห่งยังไม่ได้จะเบียนการค้ากับ สคบ. ทำให้เวลาเกิดปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าไม่ตรงตามที่อวดอ้างสรรพคุณ หรือสินค้าเกิดการชำรุดไม่สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดได้  

ดังนั้นการดึงผู้ประกอบการเข้ามาในระบบจะช่วยให้ผู้ประกอบการติดตามได้ง่ายขึ้นกรณีเกิดการกระทำความผิดหรือการขอคืนสินค้าหากไม่ตรงตามที่โฆษณา นอกจากนั้นยังมีการวางเงินหลักประกันเพื่อสร้างความมั่นให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img