‘ส.อ.ท.’ เปิดผลสำรวจอุตสาหกรรมปี 2567 จาก 46 กลุ่ม พบ 13 อุตสาหกรรมหดตัว ขณะที่ 22 อุตสาหกรรม ขยายตัวท่ามกลางความไม่แน่นอเศรษฐกิจ ส่วน 11 อุตสาหกรรมทรงตัว
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นแนวโน้มอุตสาหกรรมปี 2567 จาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค เพื่อสะท้อนมุมมองความ เห็นภาวะอุตสาหกรรมและมุมมองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2567 ไปยังหน่วยงานภายนอก พร้อมรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประกอบการผลักดันข้อเสนอ ส.อ.ท.ในประเด็นต่าง ๆ ไปยังหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างวันที่ 11 ธ.ค.-27 ธ.ค.66
ส่วนใหญ่อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น คาดว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยยังเติบโตได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดย 22 กลุ่มอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 9 กลุ่ม คาดว่าขยายตัว 6-10% คือ เครื่องปรับอากาศฯ, เครื่องสำอาง, ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์, พลังงานหมุนเวียน, ยาง, โรงเลื่อยและโรงอบไม้, รองเท้า, อัญมณีฯ และอาหารและเครื่องดื่ม
ส่วน อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวแบ่งเป็น 13 อุตสาหกรรม โดย 4 กลุ่ม คาดว่าจะหดตัว 1-5% คือ ปิโตรเคมี, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, สมุนไพร และหลังคาและอุปกรณ์ ในขณะที่ 5 กลุ่ม คาดว่าจะหดตัว 6-10% คือ ก๊าซ, แก้วและกระจก, เฟอร์นิเจอร์, สิ่งทอ และหนังและผลิตภัณฑ์หนัง ส่วน อีก 3 กลุ่ม คาดว่าจะหดตัวมากกว่า 10% คือ แกรนิตและหินอ่อน, น้ำตาล, หัตกรรมสร้างสรรค์ และ อีก 1 กลุ่ม ไม่ระบุ % คือ เซรามิก
สำหรับ ปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจมีการเติบโต ประกอบด้วย 1.ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 2.คำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคคู่ค้าสำคัญเพิ่มขึ้น จากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 3.เป้าหมายการบรรลุความตกลงการค้า FTA ภายในปี 2567 ช่วยเพิ่มแต้มต่อให้ผู้ประกอบการ 4.การส่งเสริมการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคการผลิต ช่วยลดต้นทุนค่ำไฟฟ้า 5.ราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลง และมีแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ เข้ามาทดแทน และ 6.ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากกฎระเบียบและพฤติกรรมผู้บริโภค
ในขณะที่ ปัจจัยห่วงที่น่ากังวล ประกอบด้วย 1.ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามที่ยืดเยื้อกดดันเศรษฐกิจโลก ราคาพลังงานผันผวน 2.ทิศทางค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูง และปัญหาหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3.การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.ต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับสูง จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ 5.ปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาในตลาดอาเซียน รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาด (Dumping) และ 6.มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) โดยเฉพาะมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ส่วน 13 กลุ่ม ที่คาดว่าขยายตัว 1-5% คือ การจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม, การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, ชิ้นส่วนและอะไหล่เครื่องยนต์, ต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก, เทคโนโลยีชีวภาพ, ปูนซีเมนต์, ผู้ผลิตไฟฟ้า, พลาสติก, ยานยนต์, เยื่อและกระดาษ และโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ในขณะที่ 2 กลุ่มไม่ระบุ % คือ ดิจิทัล และยา
สำหรับอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะทรงตัวแบ่งเป็น 11 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย เคมี, เครื่องจักรกลเกษตร, เครื่องจักรกลและโลหะการ, เครื่องนุ่งห่ม, น้ำมันปาล์ม, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ไม้อัด ไม้ยาง และวัสดุแผ่น, สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, หล่อโลหะ, เหล็ก และอลูมิเนีย