วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“เงินบาทอ่อน” จับตาผลประชุมบีโอเจวันนี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทอ่อน” จับตาผลประชุมบีโอเจวันนี้

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.99 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย ” ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุม BOJ คาดงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% ตามเดิม

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.99 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.98 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.94-36.00 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านสำคัญ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ที่ยังพอได้ปัจจัยหนุนจากการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด

อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทยังคงไม่สามารถทะลุผ่านโซนแนวต้านได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลักที่จะเริ่มต้นด้วยการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันอังคารนี้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วน อย่างฝั่งผู้ส่งออกก็ยังคงทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่ ทำให้การอ่อนค่าของเงินบาทนั้นชะลอลงบ้าง

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯใหญ่ ธีม AI อาทิ Alphabet +4.6% ที่ได้แรงหนุนจากข่าวการเจรจากับ Apple ในการนำ AI “Gemini” มาใช้กับ iPhone ทั้งนี้ โดยรวมผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอลุ้นผลการประชุมเฟดในวันพฤหัสฯนี้ ส่งผลให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.63%

ทางตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ย่อลงต่อเนื่อง -0.17% ตามแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่ม Telecom. ที่ปรับตัวได้ดีก่อนหน้า และแรงขายทำกำไรบรรดาหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม หลังผู้เล่นในตลาดยังไม่มั่นใจแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นเทคฯ ธีม AI เช่นเดียวกันกับฝั่งสหรัฐฯ นำโดย ASML +1.5%

ฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 4.30% โดยผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นผลการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ซึ่งหากคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ใหม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง โดยเฟดยังคงมองว่าจะสามารถลดดอกเบี้ยราว 3 ครั้งในปีนี้ เราคาดว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ ก็อาจเริ่มแกว่งตัว sideways หรือย่อลงได้บ้าง อนึ่ง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงหลังการประชุมเฟดออกมาดีกว่าคาด ก็อาจหนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ ผันผวนสูงขึ้นได้ แต่เราคงมุมมองเดิมว่า การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถทยอยเข้าซื้อ Buy on Dip บอนด์ 10 ปีสหรัฐฯ ได้

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้น แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยยังพอได้แรงหนุนจากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ขณะเดียวกัน การอ่อนค่าลงของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ส่วนหนึ่งมาจากการปรับสถานะถือครองของผู้เล่นในตลาดก่อนรับรู้ผลการประชุม BOJ ก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ยังไม่ได้แข็งค่าขึ้นไปมาก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลัก ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 103.6 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103.3-103.6 จุด)

ส่วนของราคาทองคำ ความกังวลแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด ยังคงกดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ และยังคงแกว่งตัวแถวโซนแนวรับ 2,160 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดอาจรอลุ้นผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลักก่อนที่จะปรับสถานะถือครองที่ชัดเจนต่อไป

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุม BOJ โดยเราประเมินว่า BOJ อาจยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% ตามเดิม ทว่า BOJ อาจมีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นต่อแนวโน้มการทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การทยอยปรับลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรืออาจมีการส่งสัญญาณว่า BOJ อาจทยอยยกเลิก Yields Curve Control ได้ ซึ่งหาก BOJ มีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจพอช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ได้บ้าง ในทางกลับกัน หากไม่มีการส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เราคาดว่า เงินเยนมีโอกาสผันผวนอ่อนค่ากลับไปทดสอบโซน 150 เยนต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก (ซึ่งจะเป็นโอกาสในการรอเพิ่มสถานะ Long JPY ได้)

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เพื่อช่วยประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ที่อาจมีผลต่อทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทเสี่ยงที่จะผันผวนสูง โดยเฉพาะในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ เพราะหาก BOJ ส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หรือ มีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้จริง ก็อาจหนุนให้ เงินเยนพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากโซนเหนือระดับ 149 เยนต่อดอลลาร์ สู่โซน 148 เยนต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก ซึ่งในภาพดังกล่าวก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงินบาท ทำให้เงินบาททยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ในทางกลับกัน หาก BOJ ย้ำจุดยืนใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายไปก่อนอ่อน จนกว่าจะมั่นใจในทิศทางอัตราเงินเฟ้อ ก็จะยิ่งกดดันให้ เงินเยนผันผวนอ่อนค่า กลับไปเหนือระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งในกรณีดังกล่าว เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทะลุ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.20 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หลังล่าสุดนักลงทุนต่างชาติกลับมาเทขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนบอนด์ไทย ทั้งบอนด์ระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.85-36.15 บาทต่อดอลลาร์

    

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img