วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightภาคเอกชนร้องรัฐจัด“ซอฟต์โลน” ช่วย“SME”ลดต้นทุนทางการเงิน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ภาคเอกชนร้องรัฐจัด“ซอฟต์โลน” ช่วย“SME”ลดต้นทุนทางการเงิน

สภาหอการค้าไทย เรียกร้องรัฐบาลจัดซอฟต์โลนช่วยเอสเอ็มอีลดต้นทุนทางการเงิน หลังกนง.ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% “ธนวรรธน์” เผยอัตราดอกเบี้ยไทยยังต่ำสุดในอาเซียน-กลุ่มเอเชีย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่วันที่ 10 เม.ย.ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% ว่า กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างการฟื้นตัว การดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้สูง การรักษาเสถียรภาพของเงินทุนเข้าออก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดทำให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวน่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

ส่วนในมุมของผู้ประกอบการและประชาชนก็ยังอยากให้มีการลดดอกเบี้ย ในภาวะที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และต้นทุนต่างๆอยู่ระดับสูง แม้การลดดอกเบี้ยจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนหรือภาระของผู้ประกอบการและประชาชนลดลง แต่ก็มีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ และกำลังซื้อในประเทศอย่างซบเซา

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตามอง ท่าทีของ กนง. นับจากนี้ไปว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดิมอีกหรือไม่ เพราะหากยังคงอัตราดอกเบี้ยในลักษณะนี้ไปอีกระยะ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนค่าพลังงาน ค่าวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนทางการเงินที่สูง ซึ่งจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน

ดังนั้น หอการค้ามองว่า หากรัฐบาลจะมีนโยบายทางการคลังเพิ่มเติม ผ่านมาตรการต่างๆ เฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง เช่น Soft Loan ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบ คงจะมีส่วนช่วยประคองความสามารถของเอสเอ็มอีให้เดินหน้าต่อไปได้ แล้วหวังว่า กนง. จะได้ พิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในครั้งถัดไปต่อไป

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ส่งสัญญาณมาตลอดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศไทยไม่รวมราคาพลังงานและอาหารจะอยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-3% รวมทั้งเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป และจะเด่นขึ้นในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยขณะนี้เหมาะสมที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นในกรอบที่หลายฝ่ายคาดที่ 2.7-2.8%

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยไทยยังต่ำสุดในอาเซียนและค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มเอเชียและที่สำคัญค่าเงินบาทอยู่ในกรอบ 36-37 บาทต่อดอลลาร์ การที่ลดดอกเบี้ยก่อนคนอื่นจะทำให้ผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจไทยที่มีต่อนักลงทุนน้อยลง อีกทั้ง จะทำให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยไทยและสหรัฐห่างขึ้น ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินไหลออกทำให้มีเงินคล่องตัวในระบบเศรษฐกิจน้อยลงจึงทำให้ไม่ลดดอกเบี้ย

“ธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยจะเป็นการส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยตอนนี้เหมาะสมที่ทำเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ 2.7% และสอดคล้องทิศทางการปรับตัวของดอกเบี้ยของธนาคารกลางโลก เพราะยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันอยู่ที่ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายใต้ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องของเงินเฟ้อทั้งโลก”นายธนวรรธน์ กล่าว

ขณะเดียวกันเงินเฟ้อสหรัฐจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.4%ในเดือนเม.ย.หรือไม่ อาจทำให้เฟดชะลอการลดดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยน้อยลงซึ่งสัญญาณเหล่านี้เป็นความไม่ชัดเจนเรื่องทิศทางดอกเบี้ยทำให้ ธปท.อาจไม่ลดดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นในช่วงปลายไตรมาส 2 จนถึงสิ้นปี จากผลของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตและอสังหาริมทรัพย์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img