วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘เปิดเทอม’เงินสะพัด 6.03 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 15 ปี-แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘เปิดเทอม’เงินสะพัด 6.03 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 15 ปี-แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น

“ธนวรรธน์” เผยเปิดเทอมเงินสะพัดสูงถึง 6.03 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 15 ปี ผลพวงจากอุปกรณ์การเรียนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ดีดปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าจากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายและผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม โดยตัวเลขการใช้จ่ายปีนี้เพิ่มขึ้น 4.21% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาหรือมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 60,322 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 15 ปี หรือสูงสุดตั้งแต่มีการเก็บสถิติมา โดยเหตุผลที่การใช้จ่ายสูงขึ้น ความรู้สึกของผู้ปกครองมองว่ามาจากอุปกรณ์การเรียนและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น หรือข้าวของและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดีเท่าที่ควร

ทั้งนี้ โดยผลสำรวจเห็นชัดเจนว่าการใช้จ่ายมีสัดส่วนเป็นการผ่อนชำระค่อนข้างมาก และบางส่วนนำเงินออมของตัวเองออกมาใช้ในช่วงเปิดเทอม โดยการใช้จ่ายทุกอย่างก็ยังคงเป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปีนี้ เช่น การวางแผนในการซื้อสินค้า โดย 83% ให้ความสำคัญกับหนังสือเรียน รองลงมาคืออุปกรณ์การเรียน กระเป๋านักเรียน ชุดนักเรียนและถุงเท้ารองเท้า โดยความคิดเห็นของผู้ปกครองมองว่าสินค้าบางรายการปีนี้เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะหนังสือเรียน

นอกจากนี้ผลสำรวจการใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมสูงที่สุดคอ ค่าเทอม รองลงมา คือ การบำรุงโรงเรียน กรณีเปลี่ยนโรงเรียนใหม่หรือการเสียค่าแป๊ะเจี๊ยะ โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อนักเรียน 1 คน หากเป็นโรงเรียนรัฐบาลจะมีค่าใช้จ่าย 11,640 บาท, โรงเรียนรัฐบาลที่มีชื่อเสียง 21,542 บาท และโรงเรียนเอกชน 34,210 บาท และสิ่งที่ผู้ปกครองมีความกังวลมากที่สุด อันดับ 1 คือ ผลการเรียนของบุตรหลาน รองลงมาคือสุขอนามัย ความปลอดภัยและการแข่งขันภายในโรงเรียน รวมถึงความเป็นห่วงต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเด็กในเมืองกลับนอกเมือง

ทั้งนี้ รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย เน้นเพิ่มบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะครูให้มีจำนวนที่เหมาะสมในการดูแลนักเรียน, การเรียนการสอนโดยเฉพาะวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้น่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาทั้งอุปกรณ์การเรียน ความรู้ทักษะและความคิดต่างๆ ระหว่างโรงเรียนในเขตเมืองและโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆ ให้มีความใกล้เคียงกัน

ส่วนวันวิสาขบูชาปีนี้ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 22 พฤษภาคม ทำให้ตัวเลขการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวอาจจะไม่สูงมากนัก แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับกิจกรรมในวันวิสาขบูชาโดยเฉพาะการเวียนเทียน โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3,800 ล้านบาท

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงวันวิสาขบูชาปีนี้ คาดว่าจะมีเงินสะพัด 3,812 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขการใช้จ่ายอาจไม่สูงมากนักโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากวันวิสาขบูชาปีนี้ตรงกับวันหยุดกลางสัปดาห์พอดีหรือวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 67 ซึ่งเป็นลักษณะการคล่อมวันทำงาน 2 วัน ทำให้จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่าย การท่องเที่ยวและการทำบุญปีนี้ กลุ่มตัวอย่าง 30% เลือกที่จะพักผ่อนอยู่บ้าน /ส่วน 47% จะเดินทางไปทำบุญเวียนเทียน มีเพียง 3% เท่านั้นที่จะจัดท่องเที่ยวแบบค้างคืน

สำหรับการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนในพื้นที่กรุงเทพปริมณฑล เฉลี่ยอยู่ที่ 2,151 บาท พื้นที่ต่างจังหวัด 1,931 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นต้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img