วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“จุลพันธ์” ถกแบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐเชื่อมระบบ "ดิจิทัลวอลเล็ต”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“จุลพันธ์” ถกแบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐเชื่อมระบบ “ดิจิทัลวอลเล็ต”

“จุลพันธ์” นัด แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ สัปดาห์นี้หารือเชื่อมระบบ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ยันประชาชนต้องยืนยันรับสิทธิผ่าน “แอปทางรัฐ” เตรียมหาทางช่วยคนไม่มีสมาร์ทโฟน


นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต จะมีการนัดหมายกลุ่มผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และ สถานบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อหารือการทำระบบควบคุมแบบเปิด (Open Loop Control System) ของโครงการดิจิทัล วอลเล็ต

ทั้งนี้ เบื้องต้น ได้รับความสนใจจากธนาคารพาณิชย์ที่จะเชื่อโยงระบบการใช้จ่ายในโครงการดิจิทัล วอลเล็ตด้วย ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ปะชาชนจะได้เข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งยังยืนกรอบระยะเวลาการดำเนินการโครงการตามเดิม คือ รัฐบาลจะเปิดให้ร้านค้าและประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ดิจิทัล วอลเล็ตภายในไตสมาสที่ 3 ปี 2567 นี้

ส่วนขั้นตอนการยืนยันตัวตนของประชาชนนั้น หากผู้ใดเคยยืนยันตัวตนผ่านโครงการของรัฐที่เคยออกมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ไม่ต้องเริ่มต้นกระบวนการยืนยันตัวตนใหม่ เข้าใจได้ว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร อาจจะต้องไปดำเนินการที่สถาบันการเงินของรัฐ ดังนั้น จะมีการดึงฐานข้อมูลของรัฐเดิมมาใช้ในระบบใหม่ ทำให้ผู้ที่เคยยืนยันตัวตนแล้ว ก็ไม่ต้องทำใหม่

สำหรับกระบวนการยืนยันการรับสิทธิโครงการ พี่น้องประชาชนต้องโหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และหากผ่านกระบวนการยืนยันตัวตัวแล้ว จะเหลือแค่การกดรับสิทธิเท่านั้น สำหรับข้อมูลของร้านค้าก็เช่นกัน หากเคยลงทะเบียนโครงการการของรัฐไว้แล้ว กระทรวงการคลังก็จะรวบรวมข้อมูลมาใส่ไว้ในระบบให้

ขณะที่เงื่อนไขการใช้จ่าย ยังคงกำหนดให้เป็นแบบตัวต่อตัว (Face to Face) คือประชาชนต้องไปซื้อของที่หน้าร้านจริงๆ และจ่ายเงินของโครงการผ่านแอพทางรัฐ ซึ่งในแอพดังกล่าวจะคล้ายกับแอพการเงินของธนาคาร ที่จะมีการลิงค์ของมูลโลเคชัน ทำให้ตรวจสอบได้

ส่วนกรณีกลุ่มที่อาจเข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟนนั้น ในคณะอนุกรรมการก็ได้มีการหารือกัน และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือดีจีเอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ ซึ่งกลไกเบื้องต้นได้ออกแบบให้ประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน กลุ่มที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก อาทิผู้ป่วยติดเตียง คนชรา ผู้พิการ ก็จะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการใช้จ่ายแทนได้  ทั้งนี้ ก็ได้กำชับให้ในเรื่องปัญหาการสวมสิทธิ

อย่างไรก็ตาม การใช้ผิดประเภทนั้น พยายามที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด และการพัฒนาระบบเพื่อรองรับคนทุกกลุ่มให้เข้าถึงสิทธิในโครงการ และสร้างความสะดวกให้กับทุกคนให้ได้ แต่ก็ต้องมีกลไกในการติดตามตรวจสอบ ดังนั้นจึงได้มอบโจทย์ คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำอาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ ไปดูในรายละเอียดว่าถ้าเราอาจอำนวยความสะดวกให้สิทธิ กลุ่มที่เดินทางไปไหนเองไม่ได้ จะมีการป้องกันปัญหาการทุจริตอย่างไร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img