วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightจับตา!สศช.แถลงจีดีพีไตรมาส 1/67 คาดโตต่ำ หลังเบิกจ่ายล่าช้า-ส่งออกวูบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จับตา!สศช.แถลงจีดีพีไตรมาส 1/67 คาดโตต่ำ หลังเบิกจ่ายล่าช้า-ส่งออกวูบ

สศช.เตรียมแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/67 ดีเดย์วันนี้ (20 พ.ค.) คาดโตต่ำ หลังการเบิกจ่ายล่าช้า-ส่งออกหดตัว คาดเตรียมปรับตัวเลขประมาณการทั้งปีรอบใหม่

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันนี้ (20 พ.ค.) จะมีการประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปี 2567 ของประเทศไทย โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะแถลงตัวเลขอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้มีการประเมินกันว่า ตัวเลขจีดีพี ของไทย ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2567 อาจจะขยายตัวไม่สูงมากนัก เป็นผลมาจากเครื่องยนต์หลัก 2 ตัวยังเกิดปัญหา ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ล่าช้า ขณะที่การส่งออกแม้ช่วงแรกจะปรับตัวดี แต่ในเดือนมีนาคม 2567 มูลค่าการส่งออกกลับหดตัวสูงถึง 10.9% ซึ่งจะมีผลต่อจีดีพี ไทยในไตรมาสแรกอย่างมาก

เบื้องต้นจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายภาครัฐ และการส่งออก อาจส่งผลให้ GDP ของไทย ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2567 ขยายตัวได้ต่ำ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คือ ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ซึ่ง GDP ขยายตัวอยู่ที่ 1.7% ซึ่งประเมินว่า ตัวเลขจีดีพี ไตรมาสแรกปี 2567 อาจจะบวกเพิ่มจากไตรมาสก่อนหน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรืออย่างแย่ที่สุดคือไม่ขยายตัว

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจทั้งปี 2567 มีความเป็นไปได้สูงที่ สศช. จะปรับประมาณการใหม่อีกครั้ง หลังจากในช่วงการแถลงข่าวครั้งก่อนประเมินว่า ทั้งปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 2.2-3.2% แต่เมื่อตัวเลขไตรมาสแรกออกมาแล้ว สศช.อาจปรับตัวเลขใหม่ให้แคบลงกว่าเดิม โดยอาจเหลือเพียงแค่ 2.2-2.5% เท่านั้น

โดยก่อนหน้านี้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคเอเชียในไตรมาส1/67 ที่ประกาศไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

จีน: เศรษฐกิจจีนขยายตัว +5.3% ในไตรมาสแรกของปี 2567 จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากโควิด-19 และการแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่น: เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว -0.2% ในไตรมาสแรกของปี 2567 สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของภาคการส่งออกและการบริโภค

เกาหลีใต้: เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว +3.4% ในไตรมาสแรกของปี 2567 หนุนโดยการส่งออกที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง

ไต้หวัน: เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัว +6.5% ในไตรมาสแรกของปี 2567 โดดเด่นด้านการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

สิงคโปร์: เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัว +2.7% ในไตรมาสแรกของปี 2567 ได้รับแรงหนุนจากภาคการบริการและการท่องเที่ยว

อินโดนีเซีย: เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัว +5.1% ในไตรมาสแรกของปี 2567 หนุนโดยการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว

มาเลเซีย: เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัว +3.9% ในไตรมาสแรกของปี 2567 ได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์

ฟิลิปปินส์: เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัว +5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2567 โดดเด่นด้านการส่งออกและการโอนเงินจากแรงงานต่างประเทศ

เวียดนาม: เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว +5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2567 หนุนโดยการส่งออกและการลงทุน

สำหรับประเทศไทย นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า GDP ไตรมาสแรกของปี 2567 จะขยายตัวอยู่ในช่วง 0.5-1.0% โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ การส่งออกที่ยังหดตัว 0.2% ในไตรมาส1 การท่องเที่ยวที่การใช้จ่ายนักท่องเที่ยวไม่สูงนัก และการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวตามสัญญาณหนี้ครัวเรือนที่สูงทำให้การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินลดลง

ขณะที่การใช้กำลังการผลิต สะท้อนผ่านดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (PMI) ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันฐานเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ล่าสุดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.4% (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.9 – 2.9%) ซึ่งเป็นการปรับลดลงเมื่อเทียบกับการแถลงครั้งที่แล้วเมื่อช่วงเดือนมกราคม 2567 ซึ่งครั้งนั้นกระทรวงการคลัง ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.8% โดยขยายตัวจากปี 2566 ที่ขยาย 1.9% 

ทั้งนี้เป็นผลมาจาก การส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว ซึ่งสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์และหมวดชิ้นส่วนและแผงวงจร ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

เช่นเดียวกับภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ ขณะที่ ภาคการคลังที่ยังคงใช้การเบิกจ่ายตามงบประมาณตามปี 2566 ไปพลางก่อน 

ด้านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ 2.2-2.7% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 2.8-3.3% เนื่องจากภาคการส่งออกมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้เพียง 0.5-1.5% ต่ำกว่าประมาณการเดิมเช่นกันตามทิศทางการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ตามการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มนโยบายการเงินสหรัฐฯ และการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2567 ที่เริ่มเบิกจ่ายได้จะช่วยหนุนการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img