วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightธปท.เคลียร์ปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ หลัง“ยอดขาย”วูบ-“แบงก์”คุมเข้มสินเชื่อ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.เคลียร์ปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ หลัง“ยอดขาย”วูบ-“แบงก์”คุมเข้มสินเชื่อ

ธปท.นัดผู้ประกอบการรถยนต์หารือสถานการณ์อุตสาหกรรม หลังยอดขายในประเทศลดวูบ- แบงก์ปฏิเสธสินเชื่อหวั่นหนี้เสียพุ่ง

นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญผู้ประกอบการยานยนต์หารือถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งการผลิต การตลาด สินเชื่อ รถมือสอง รวมถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี)  ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายระบุว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมี แต่การที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ มีผลทำให้ตลาดถดถอย แต่ก็เข้าใจได้ว่า สถาบันการเงินก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น หลังจากเกิดภาวะหนี้เสียเพิ่มขึ้น โดยธปท.แจ้งว่าจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไข โดยไม่กระทบทั้งกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพ และไม่ให้กระทบการดำเนินการของสถาบันการเงิน

นอกจากนี้ได้หารือกรณีผู้บริโภคมีกำลังซื้อแต่ไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อ เพราะเป็นกลุ่มอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ และอยู่นอกระบบภาษี แต่มีจำนวนมาก ดังนั้นหากแก้ปัญหานี้ได้และจัดทำข้อมูลผู้บริโภคชัดเจนขึ้นจะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย เช่น รายได้หรือสินทรัพย์ของผู้บริโภค โดยภาครัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้นและผู้บริโภคผ่านการอนุมัติสินเชื่อ และส่งผลต่อตลาดรถยนต์ดีตามไปด้วย

ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลตั้งแต่หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดถึงปัจจุบันที่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐล่าช้าทำให้โครงการใหญ่ภาครัฐออกมากระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างเงินหมุนเวียนไม่ได้ สำหรับสถานการณ์การแข่งขันด้านราคาสูง เพราะมีสต็อกสินค้าเกินความต้องการของตลาด เนื่องจากหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น แต่เมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้มีสต็อกเพิ่มจึงต้องเร่งระบายสต็อกออกไป แต่เชื่อว่าจะใช้เวลาอีกไม่นานนัก เมื่อสต็อกเข้าสู่ภาวะสมดุลจะทำให้การแข่งขันด้านราคาจะลดลง

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การปฎิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีดีพี ประเทศเติบโตเพียง 1.5% ขณะที่หนี้เสีย (NPL) สูงถึง 3% โดยกลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท.พูดเรื่องสินเชื่อรถที่ถูกตีกลับมาเป็นปีแล้ว รวมถึงเรื่องของงบประมาณภาครัฐที่ล้าช้าได้กระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวม

ส่วนประเด็นที่หลายคนบอกว่ากลุ่มอาชีพอิสระแม้จะมีกำลังซื้อแต่ก็ไม่สามารถขอสินเชื่อได้ เนื่องจากไม่มีหลักประกันมั่นคง เพราะธนาคารจะต้องดูหลักฐานทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงผู้ค้ำประกันด้วย เพราะธนาคารก็ต้องกู้เงินมาเพื่อให้ได้ผลต่าง ซึ่งหากความเสียหายมากกว่าผลต่างก็ขาดทุน

รายงานข่าวระบุว่า หากดูสถานการณ์สินเชื่อรถยนต์ในปัจจุบันถือว่าน่าห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะข้อมูลหนี้เสียและหนี้ค้างชำระสินเชื่อรถยนต์ทั้งระบบ โดยข้อมูลบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) พบว่า ครัวเรือนไทยทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 1.09ล้านล้านบาท ในนี้มีสินเชื่อรถยนต์ ที่เป็นหนี้เสียแล้ว 2.38 แสนล้านบาท เติบโต 32%

ทั้งนี้หากเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และมีหนี้ค้างชำระหรือ (SM) ที่ค้างชำระหนี้ไม่เกิน 90 วัน อีก 2 แสนล้านบาท และมีหนี้รถยนต์ที่กำลังปรับโครงสร้างอีก 3.9 หมื่นล้านบาท

โดยกลุ่มที่เป็นหนี้เสียและค้างชำระทั้งหมดส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเจนวายที่มีหนี้เสียรถยนต์แล้ว 4.15 แสนสัญญา หรือบัญชี ซึ่งคิดเป็นยอดวงเงินรวม 1.28 แสนล้านบาท และกำลังเป็นหนี้เสีย (SM) อีก 2.98 แสนสัญญา หรือ 1.14 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมทั้ง 2 กลุ่มพบว่ามีลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียและค้างชำระแล้ว 7.13 แสนบัญชี ซึ่งคิดเป็นยอดสินเชื่อ 2.4 แสนล้านบาท

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img