วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight“สรท.”คงเป้าส่งออกปี 2567 โต 1-2% เหตุมี 5 ปัจจัยเสี่ยงเฝ้าระวังครึ่งปีหลัง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สรท.”คงเป้าส่งออกปี 2567 โต 1-2% เหตุมี 5 ปัจจัยเสี่ยงเฝ้าระวังครึ่งปีหลัง

ส่งออกเดือนพ.ค.มูลค่า 960,220 ล้านบาทขยายตัว 15.1% นำเข้ามูลค่า 947,007 ล้านบาท ขยายตัว 5.5% เกินดุลการค้า 13,214 ล้านบาท คาดทั้งปีส่งออกโต 1-2% เผย 5 ปัจจัยเสี่ยงเฝ้าระวัง

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนพ.ค.มีมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.2% หากเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่าในรูปเงินบาทอยูที่ 960,220 ล้านบาทขยายตัว 15.1% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัว 6.5%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,563.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.7% และมีมูลค่าในรูปเงินบาท 947,007 ล้านบาท ขยายตัว 5.5% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม 2567 เกินดุล 656.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 13,214 ล้านบาท

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม-พฤษภาคมของปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 120,493.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.6% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,298,248 ล้านบาท ขยายตัว 8.1% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม – พฤษภาคมขยายตัว 4.3%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 125,954.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.5% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,542,224 ล้านบาท ขยายตัว 8.8% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 5,460.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 243,976 ล้านบาท

ทั้งนี้สรท. คงตัวเลขการส่งออกปี 2567 เติบโตที่ 1-2% (ณ เดือนกรกฎาคม 2567) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังในครึ่งปีหลังที่สำคัญ ได้แก่

1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยืดเยื้อ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน การตั้งกำแพงภาษีระหว่างกันและชาติพันธมิตร อาจส่งผลกระทบต่อระบบการค้าโลกรวมถึงการค้าระหว่างประเทศของไทย จับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

2.ต้นทุนภาคการผลิต ทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อาทิ

2.1ต้นทุนพลังงาน อาทิ น้ำมันและไฟฟ้า

2.2 ค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้น  

3.ต้นทุนค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharge) และค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Charge) ปรับตัวสูงขึ้นทุกเส้นทาง ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จากการเร่งผลิตและส่งออกของจีนส่งผลให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกว่า 300%

4.การเข้าถึงสินเชื่อของภาคการผลิตมีปัญหาต่อเนื่อง ทำให้ขาดสภาพคล่อง

5.ภาคการผลิตรายสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.ต้องกำกับดูแลต้นทุนการผลิตเพื่อให้การส่งออกของไทยยังคงขีดความสามรถในการแข่งขันได้ อาทิ ต้นทุนพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำ และค่าขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเฉพาะค่าระวางเรือ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 2. ผู้ส่งออกต้องวางแผนการขนส่งด้วยการจองระวางเรือล่วงหน้า รวมถึงการเจรจากับคู่ค้าเพื่อปรับอัตราค่าขนส่งให้สอดคล้องกับค่าระวางในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกเส้นทาง รวมถึงต้องบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม 3. สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก อาทิ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้า

4. สนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจ ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนกระแสเงินสดและการผลิตเพื่อการส่งออก อาทิ การจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการวางแผนบริหารจัดการ 5. เร่งส่งเสริมกิจกรรม Trade Promotion ในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และสร้างโอกาสให้สินค้าไทยในสายตาคู่ค้าและผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองระหว่างประเทศมีความผันผวน และ 6. เร่งปรับโครงการสร้างการส่งออกของไทย เพื่อรองรับการแข่งขันในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Trading Nation

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img