วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightคลังหั่นงบวงเงินดิจิทัลวอลเล็ตเหลือ 4.5 แสนชงบอร์ดชุดใหญ่ 15 ก.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คลังหั่นงบวงเงินดิจิทัลวอลเล็ตเหลือ 4.5 แสนชงบอร์ดชุดใหญ่ 15 ก.ค.นี้

คลังลดวงเงิน “แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต” เหลือเพียง 4.5 แสนล้านบาท จากเดิม 5 แสนล้านบาท คาดประชาชนลงทะเบียนใช้สิทธิไม่เกิน 90% เตรียมเสนอบอร์ดชุดใหญ่ 15 ก.ค.นี้


นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ว่า ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้ส่งหนังสือแสดงความเป็นห่วงเรื่องการจัดตั้งงบประมาณที่มีวงเงินขนาดใหญ่ในการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต  กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษารายละเอียดซึ่งพบว่า การดำเนินโครงการของรัฐที่ผ่านมามียอดผู้เข้ามาใช้สิทธิไม่เกิน 90%

ดังนั้น จากตัวเลขดังกล่าว สำนักงบประมาณจึงได้เสนอการปรับกรอบแหล่งเงินที่ใช้งบประมาณสำหรับดำเนินโครงการเหลือ 450,000 ล้านบาท จากเดิมใช้งบประมาณ 500,000 ล้านบาท ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ศึกษามาข้างต้นว่ามีผู้ใช้สิทธิไม่เกิน 90% โดยรัฐยังวางเป้าหมายเดิมว่ามีประชาชนใช้สิทธิ 50 ล้านคน คาดว่าจะรู้จำนวนคนเข้าโครงการหลังจากปิดลงทะเบียนเสร็จในเดือนก.ย.67 นี้ และจะรู้ว่าต้องใช้งบประมาณจริงเท่าไหร่ ทั้งนี้จะเสนอแนวทางดังกล่าวต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ ในวันที่ 15 ก.ค.นี้

สำหรับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้สำหรับดำเนินโครงการดิจิทัลมาจาก

  • การใช้งบจากงบประมาณปี 2567 จำนวน 160,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณเพิ่มเติม 122,000 ล้านบาท และงบประมาณจากการบริหารจัดการอีก 40,000 ล้านบาท
  • การใช้งบจากงบประมาณปี 2568 จำนวน 285,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณประจำ 152,700 ล้านบาท และงบจากาการบริหารจัดการอีก 132,300 ล้านบาท  ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  

ทั้งนี้ คาดว่าเม็ดเงินจากโครงการดิจิทัล ไม่น่ามีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้เท่าไหร่นัก แต่จะมีผลในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ ก็จะมีมาตรการดูแลเศรษฐกิจออกมา แต่ไม่ใช่รูปแบบกระตุ้นการบริโภค จะเน้นดูแลการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ณะเดียวกัน ที่ประชุมมีมติเพิ่มรายการสินค้าไม่ร่วมรายการ (Negative List) ประเภทสินค้าเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสาร เนื่องจากต้องการลดการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้านำเข้า (Import Content) รวมทั้งลดการใช้จ่ายสินค้าราคาสูงเพื่อให้มีการกระจายเม็ดเงิน ไปถึงร้านและผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้น


“สินค้าที่ไม่ร่วมรายการที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นประเภทของสินค้า ทั้งที่มีการนำเข้าและผลิตในประเทศ เพื่อเป็นกระบวนการในการลดการใช้จ่ายสินค้านำเข้าและสินค้าที่มีราคาสูง เพื่อกระจายเม็ดเงินให้กว้างที่สุด ไปถึงมือผู้ประกอบการและร้านค้าจำนวนมาก”

 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img