วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightบอร์ดรฟท.ไฟเขียวปรับเพิ่มวงเงินลงทุน “รถไฟฟ้าสายสีแดง”อีก 416 ล้านบาท!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บอร์ดรฟท.ไฟเขียวปรับเพิ่มวงเงินลงทุน “รถไฟฟ้าสายสีแดง”อีก 416 ล้านบาท!!

“จิรุตม์” เผยบอร์ดรฟท.เคาะเพิ่มวงเงินลงทุนรถไฟฟ้าสายสีแดงอีก 416 ล้านบาท หลังปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี เปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดีและมีทางเดินลอยฟ้าเชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบปรับกรอบวงเงินลงทุนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือ Missing Link เพิ่มอีก 416.09 ล้านบาท จากวงเงินเดิมที่ ครม.อนุมัติเมื่อปี 2559 ประมาณ 44,157.76 ล้านบาท รวมเป็น 44,573.85 ล้านบาท

ทั้งนี้เป็นผลมาจากโครงการมีการปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี เปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี และมีทางเดินลอยฟ้า (Sky walk) เชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนโครงการต้องปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและครม.พิจารณาอนุมัติต่อไป

สำหรับรถไฟสายสีแดง Missing Link มีการปรับวงเงิน ดังนี้

1.ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา เดิม 20 ล้านบาท ปรับลดลง 880,000 บาท เหลือ 19.12 ล้านบาท เนื่องจากลงนามสัญญาจ้างไว้ที่ 19.12 ล้านบาท

2.ค่าจ้างที่ปรึกษาคุมงาน เดิม 1,059.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 133.22 ล้านบาท เป็น 1,192.43 ล้านบาท เนื่องจากค่างานโยธาและค่างานระบบฯ เพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นค่าควบคุมงาน 1,185.83 ล้านบาท และค่าช่วยเวนคืนที่ดิน 6.60 ล้านบาท

3.ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศกรอิสระ เดิม 185.12 ล้านบาท ปรับลดลง 104.17 ล้านบาท เหลือ 80.95 ล้านบาท เนื่องจากค่างานระบบฯ ลดลง

4.ค่างานโยธา เดิม 24,189.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,836.7 ล้านบาท เป็น 35,026.59 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าอัตราส่วนของต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง (Factor F) ให้เป็นปัจจุบัน ปรับแบบให้สอดคล้องกับโครงการที่เกี่ยวข้อง และปรับเพิ่มค่างานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง

5.ค่างานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล เดิม 18,511.62 ล้านบาท ลดลง 10,417.10 ล้านบาท เหลือ 8,094.52 ล้านบาท เนื่องจากตัดค่าตู้รถไฟฟ้า (9,206.28 ล้านบาท) ออก โดยให้เอกชนร่วมลงทุนจัดซื้อแทนตามผลการศึกษาร่วมทุน (PPP) สายสีแดง และผลจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเยนลดลงเมื่อเทียบกับเงินบาท

6. ค่าเวนคืนที่ดิน เดิม 191.92 ล้านบาท ลดลง 31.68 ล้านบาท เหลือ 160.24 ล้านบาท เนื่องจากโยกค่ารื้อย้ายไปไว้ในค่างานโยธาและคิดค่าเวนคืนใหม่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 2562

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.รายงานผลการเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เนื่องจากก่อนหน้านี้บอร์ดมีมติให้ไปศึกษารายละเอียดและเจรจากับผู้รับสัมปทานในโครงการนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อกัน เพราะพื้นที่ทั้งสองโครงการอยู่ใกล้กัน แต่ทราบว่าผลการเจรจาทางผู้รับสัมปทานไฮสปีดสามสนามบินไม่มีปัญหาติดขัด จึงสามารถดำเนินโครงการได้

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้บอร์ด รฟท.ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงไปแล้ว 3 เส้นทาง ได้แก่

1.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,473.98 ล้านบาท

2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท

3.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,616 ล้านบาท

ปัจจุบันช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต กระทรวงคมนาคมได้ส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ในเร็วๆ นี้ ส่วนอีก 2 โครงการ กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้ รฟท.จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความรอบคอบก่อนเสนอ ครม. ปัจจุบันจึงอยู่ในกระบวนการจัดทำข้อมูลรายงานกระทรวงคมนาคม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img