วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘GGC’ผนึก‘OR’ร่วมสนับสนุนการซื้อ-ขาย ‘ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน’ทั้งห่วงโซ่อุปทาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘GGC’ผนึก‘OR’ร่วมสนับสนุนการซื้อ-ขาย ‘ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน’ทั้งห่วงโซ่อุปทาน

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมมือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) สนับสนุนการซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ขานรับนโยบายกลุ่ม ปตท. หนุนภาครัฐหาแนวทางการแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ โดยจับมือพันธมิตร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งอนุพันธ์น้ำมันปาล์มยั่งยืน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ และเกิดประโยชน์กับกลุ่มเกษตรสวนปาล์มที่ประสบความเดือดร้อนอย่างแท้จริง

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า GGC ในฐานะบริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลและเป็นบริษัทในกลุ่ม GC เรามีนโยบายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย โดยการร่วมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาวของเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และให้ได้การยอมรับในระดับสากล

นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า ช่วงปี 3-4 ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนที่สำคัญในการสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้ำห่วงโซ่การผลิต คือโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน Sustainable Palm oil production and procurement (SPOPP) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยมีจุดประสงค์หลักคือการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย 1,000 ราย ให้ดำเนินการตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ การดำเนินโครงการ SPOPP ของ GGC สอดคล้องกับแนวทางการบริหารความยั่งยืนด้านห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Supply Chain Sustainability) ซึ่งครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม แรงงานและสิทธิมนุษยชน จรรยาบรรณธุรกิจ และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับรางวัล ECOVADIS ระดับ Gold ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว

“การให้ความร่วมมือกับโออาร์ นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ นอกจากจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำและพยายามให้ผลประโยชน์ไปถึงเกษตรกรโดยตรงให้มากที่สุด ยังเป็นการร่วมกันสนับสนุนการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน และอนุพันธ์น้ำมันปาล์มยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ อีกทั้งช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรการต้นน้ำไปถึงลูกค้าปลายน้ำอีกด้วย”นายกฤษฎา กล่าว

กฤษฎา ประเสริฐสุโข

ด้าน นายนิสิต พงษ์วุฒิประพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มตกต่ำซึ่งส่งผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกระทรวงพลังงานได้มีแนวทางให้ผู้ค้าน้ำมันมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยการรับซื้อ B100 ในราคาที่สูงขึ้นนั้น OR ในฐานะหนึ่งในผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 มีความยินดีและพร้อมที่จะสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ โดยได้เร่งประสานงาน บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลในกลุ่ม ปตท. และได้รับความร่วมมือ วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับซื้อไบโอดีเซล ที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบของผู้ผลิต เพื่อให้สามารถส่งผลต่อไปยังราคาการรับซื้อผลปาล์มในมูลค่าที่สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์สูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม โดย OR และ GGC จะร่วมผลักดันแนวทางการดำเนินงานเพื่อทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดและเกิดประโยชน์กับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่ประสบความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และสนับสนุน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสายโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มให้เติบโตไปด้วยกัน

สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ GGC และ OR ได้ร่วมมือกับพันธมิตรตั้งแต่ ต้นน้ำ คือ กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเอเจเสริมสร้างปาล์มน้ำมันยั่งยืน 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสานฝันเพเหลาพัฒนาเศรษฐกิจ 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมันภัทร 4) กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมันทับทิม & ไชโย 5) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน RSPO พังงา และ 6) กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตรังน้ำมันปาล์ม

กลางน้ำ โรงสกัดปาล์มน้ำมัน จำนวน 12 บริษัท ประกอบด้วย 1) บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด 2) บริษัท ภัทรปาล์มออยล์ จำกัด 3) บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์ม จำกัด 4) บริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม จำกัด 5) บริษัท เอเจปาล์มออยล์ จำกัด 6) บริษัท นิวไบโอดีเซล จำกัด 7) บริษัท ปาล์มดีศรีนคร จำกัด 8) บริษัท ไทยทาโลว์แอนด์ออยล์ จำกัด 9) บริษัท พี.ซี.ปาล์ม (2550) จำกัด 10) บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด และ 11) บริษัท ทักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 1993 จำกัด และ บริษัทคู่ค้าปลายน้ำ บริษัท ไทยอีทอกซีเลท จำกัด หรือ TEX ซึ่งเป็นลูกค้าและบริษัทในกลุ่มของ GGC ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อดำเนินการร่วมกันสนับสนุนการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันรวมทั้งอนุพันธ์น้ำมันปาล์มยั่งยืน ที่ยังไม่ได้ดำเนินตามมาตรฐาน RSPO และที่ได้ดำเนินการตามมาตรฐาน RSPO เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ ข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งอนุพันธ์น้ำมันปาล์มยั่งยืนดังกล่าว ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน จะช่วยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการซื้อ-ขายปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวไทย และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งห่วงโซ่อุปทานได้เติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและเชื่อมโยงการเข้าถึงตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนของ GGC และ OR

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img