วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightBEM เร่งจัดหาขบวนรถไฟฟ้า“บิ๊กล็อต” 51ขบวน เสริมสายสีน้ำเงิน-เดินรถสีส้ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

BEM เร่งจัดหาขบวนรถไฟฟ้า“บิ๊กล็อต” 51ขบวน เสริมสายสีน้ำเงิน-เดินรถสีส้ม

BEM เดินหน้าซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่ 51 ขบวนให้บริการเสริมให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-เดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม มั่นใจพร้อมลงทุนก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  หรือ BEM เปิดเผยว่า บริษัทฯ กำลังจัดหาขบวนรถไฟฟ้าใหม่จำนวน 51 ขบวน เพื่อนำมาให้บริการส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้ม จำนวน 30 ขบวน และเสริมให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 21 ขบวน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี โดยจะทยอยรับมอบส่วนแรกเพื่อให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) ในปลายปี 2570

สำหรับงานโยธาสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) นั้น ได้เตรียมความพร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และแรงงาน คาดว่าสามารถเข้าพื้นที่เริ่มงานก่อสร้างได้ทันที ด้านวงเงินลงทุนนั้น ได้กู้เงินดำเนินโครงการกับธนาคารกรุงเทพ โดย BEM ประเมินว่าจะทยอยลงทุนเป็นระยะเวลา 6 ปี เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาท หรือวงเงินรวมทั้งหมด 1.2 แสนล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า BEM ได้สัมปทานลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ) โดยเริ่มเดินรถช่วงแรกหัวลำโพง-บางซื่อ มาตั้งแต่ปี 2547 ใช้รถไฟฟ้าของบริษัท Siemens รวมทั้งเมื่อเปิดเดินรถส่วนต่อขยายหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ได้สั่งซื้อรถไฟฟ้าจากบริษัท Siemens เมื่อปี 2560 รวม 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ เริ่มรับมอบรถในเดือน เม.ย.2562

ส่วนสัมปทานการลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) โดยมีรถไฟฟ้า 21 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ โดยสั่งซื้อผ่านกลุ่มกิจการร่วมค้ามารุเบนิ-โตชิบา และมีบริษัทเจแปน ทรานสปอร์ต เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (J-TREC) เป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งการเลือกใช้รถไฟฟ้าของญี่ปุ่นทำให้ BEM ต้องจัดอะไหล่สำรองเพิ่ม 1 ชุด แยกจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ใช้ของ Siemens แต่รถไฟฟ้าจากญี่ปุ่นราคาจะถูกกว่าเกือบ 5% อย่างไรก็ตาม หาก BEM เลือกรถไฟฟ้าของบริษัทอื่นนอกเหนือจาก Siemens และ J-TREC จะทำให้ต้องจัดอะไหล่สำรองเพิ่มอีก 1 ชุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img