วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘คลัง’ประเมินร้านค้าย่อยเข้าดิจิทัลวอลเล็ต 1.4ล้านราย-เปิดปชช.เริ่มลงทะเบียน1ส.ค.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘คลัง’ประเมินร้านค้าย่อยเข้าดิจิทัลวอลเล็ต 1.4ล้านราย-เปิดปชช.เริ่มลงทะเบียน1ส.ค.

“คลัง” คาดร้านค้าขนาดเล็กรายย่อยร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1.4 ล้านราย ทั้งร้านค้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล-บุคคลธรรมดา-ธงฟ้า-โชห่วย-ตลาดนัด ขณะที่ประชาชนเปิดให้ลงทะเบียน 1 ส.ค.นี้

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า การเปิดรับสมัครร้านค้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เบื้องต้นได้กำหนดเป้าหมายร้านค้าขนาดเล็กรายย่อยเข้าร่วมกว่า 1.4 ล้านราย แบ่งเป็นร้านค้าที่มีข้อมูลในส่วนกระทรวงพาณิชย์ ที่จดทะเบียนนิติบุคคล และบุคคลธรรม 9.1 แสนราย ร้านธงฟ้า ร้านอาหารธงฟ้า 1.5 แสนราย ร้านค้าโชห่วย ร้านอาหาร หาบเร่แผงลอย ตลาดนัด ของกระทรวงมหาดไทย 4 แสนราย กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 9 หมื่นราย

ทั้งนี้ ในส่วนของร้านค้าขนาดเล็กที่เป็นแฟรนไชส์ เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเวน ร้านอาหารฟาสฟู้ดต่างๆ ยังสามารถเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยเงื่อนไขที่ห้ามร้านเข้าร่วม ยังห้ามเฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ตเช่นเดิม

สำหรับรายละเอียดของประเภทร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบ่งร้านค้า 2 ประเภทร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

1.ร้านค้าที่รับการใช้จ่ายจากประชาชน กำหนดให้ เป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อ แต่ไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่ง ขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น 

2. ร้านค้าที่รับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไข 

ทั้งนี้กำหนดให้ร้านค้าที่สามารถเบิกถอนเงินสดได้เฉพาะร้านค้าที่อยู่ใน ระบบภาษี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax CIT)

อย่างไรก็ตาม โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านกระเป๋าเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะแถลงข่าวใหญ่ที่กระทรวงการคลังในวันที่ 24 ก.ค.นี้ เกี่ยวกับรายละเอียดการลงทะเบียน การใช้งานแอปพลิเคชัน โดยประชาชนกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนจะเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในวันที่ 1 ส.ค.นี้ เป็นระยะเวลา 45 วัน 

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การกำหนดเงื่อนไขของโครงการเติมเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบและเกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากที่สุด ในกรณีที่มีข้อคำถามว่าจ่ายเป็นเงินสดจะดีกว่าหรือไม่นั้น คำตอบคือไม่ หากเป็นการจ่ายเงินสดผู้ที่ได้รับเงินก็จะนำเงินไปเก็บในบัญชีและไม่เกิดการหมุนเวียน

ส่วนกรณีการแบ่งเป็นการใช้จ่าย 2 รอบนั้น เพราะต้องการให้การใช้จ่ายรอบแรกมีการหมุนเวียนเงินอยู่ในระดับชุมชน และการเพิ่มรายการห้ามซื้อก็เพื่อต้องการให้เม็ดเงินหมุนอยู่ในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างการจ้างงาน และการตั้งเงื่อนไขการใช้ภายใน 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากที่สุดในช่วงสั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img