วันอังคาร, กันยายน 17, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightนักลงทุนไทย-ต่างปท. สนใจลงทุน“โครงการแลนด์บริดจ์”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นักลงทุนไทย-ต่างปท. สนใจลงทุน“โครงการแลนด์บริดจ์”

สนข.เร่งจ้างที่ปรึกษาเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ คาดเปิดประมูลได้ปลายปี 68 ยันนักลงทุนไทย-ต่างชาติสนใจร่วมลงทุนคึกคัก พร้อมลุย 6 โครงการเร่งด่วน

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์) ว่า สนข.ได้จัดสรรงบประมาณในปี 2568 จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดโครงการ เพื่อประกวดราคาคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะดำเนินการเปิดประมูลได้ภายในปลายปี 2568 ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดทำพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.SEC

โดยสถานะปัจจุบัน สนข.ได้เสนอ พ.ร.บ.SEC ไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา และเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อมอบหมายให้ สนข. จัดทำร่างพ.ร.บ.แล้ว คาดว่าจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในสัปดาห์แรกของเดือนก.ย.นี้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยคาดว่ากระบวนการจะแล้วเสร็จ พ.ร.บ.SEC น่าจะมีผลในช่วงต้นปี 2568

สำหรับ สนข.รับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบท่าเรือ และเขตอุตสาหกรรมที่จะครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และชุมพร โดยที่ผ่านมา สนข.ได้ลงพื้นที่ให้ข้อมูลและทำความเข้าใจกับประชาชนใน 4 จังหวัดดังกล่าว และพบว่าประชาชนในพื้นที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุนเขตอุตสาหกรรมนี้ เพื่อประโยชน์สร้างรายได้และพัฒนาเมือง เติบโตไปพร้อมกับโครงการแลนด์บริดจ์

“โครงการที่เกิดการลงทุนแน่นอน เพราะได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เช่น จีน ดูไบ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย โดยนักลงทุนเห็นด้วยกับแผนพัฒนาและรายละเอียดโครงการที่ศึกษาไว้ รวมทั้งยังเล็งเห็นว่าหากมีการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จะทำให้โครงการแลนด์บริดจ์ประสบความสำเร็จ”

นอกจากนี้สนข.ยังมีแผนการดำเนินงานที่อยู่ระหว่างการนำเสนอกระทรวงคมนาคม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่

1.พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว

2.พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.SEC เพื่อใช้ในการกำกับดูแล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เชื่อมโยงกันทั้งในและนอกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

3.แผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (W-MAP) เพื่อพัฒนาการเดินทางทางน้ำ ยกระดับการบูรณาการเดินทางกับรูปแบบอื่น เพิ่มการใช้ประโยชน์เพื่อการสัญจรและการท่องเที่ยว

4.แผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Feeder) พัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ พร้อมปรับปรุงลักษณะกายภาพ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างสะดวก

5.แผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (พ.ศ.2566-2580) โดยเร่งผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย EV ภาคคมนาคม พัฒนาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนใช้งานระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น และลดมลพิษ

6.แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยอาศัยแนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ 177 สถานี ทั่วประเท

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img