วันอังคาร, กันยายน 17, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเอกชนชง"แพทองธาร"ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะสั้น-ดันจีดีพีโต 3-5%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เอกชนชง”แพทองธาร”ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะสั้น-ดันจีดีพีโต 3-5%

เอกชนชี้นโยบายเร่งด่วนที่นายกรัฐมตรีคนใหม่ “แพทองธาร” ต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้นเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณปี 67-การแก้ปัญหาปากท้องประชาชน -การเมืองต้องมีเสถียรภาพ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  เปิดเผยนโยบายเร่งด่วน หลังจากน.ส.แพทองธาร ชินวัตร เข้ารับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ว่า นโยบายเศรษฐกิจไทยของรัฐบาลในระยะสั้นที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย

การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 ให้กระจายไปทุกภูมิภาค ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างเด่นชัด และควรเร่งจัดทำงบประมาณปี 68 ให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการหรือในกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ยืดเยื้อในปีที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน ทั้งมาตราการเยียวยาและการกระตุ้นเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึง มาตรการปกป้องและช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้านำเข้าที่ทะลักเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าจากจีน

รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่แข็งค่ามากเกินไป ซึ่งจะเอื้อต่อภาคการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวให้เติบโตต่อเนื่อง สนับสนุนการท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวเข้ามาเดือนละ 3 ล้านคน รวมไปถึงการดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวตลอดจนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 36-37 ล้านคน

นอกจากนี้พรรคร่วมรัฐบาลจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ เพื่อให้การเมืองไทยมีเสถียรภาพ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม การที่มีนายกรัฐมนตรีได้เร็วทำให้ประเทศไม่เกิดสุญญากาศ ส่วนนี้ทำให้เรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้เร็ว ส่วนเรื่องที่มีนายกฯ หญิงอายุน้อย ขึ้นอยู่ที่การแสดงความเป็นผู้นำและการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากนี้สำหรับความพร้อมของการบริหารงานที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลก็เชื่อว่า พรรคเองมีความพร้อมด้านบุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถในทุกด้านอยู่แล้ว

นอกจากนี้ หลายมาตรการของอดีตนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน โดยเฉพาะการเปิดประตูการค้า และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องเดินหน้าสานต่อ โดยมีการกำหนดกระทรวงหรือผู้รับผิดชอบขึ้นเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการที่เกี่ยวข้อง Soft Power

ส่วนการดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล ยังเป็นปัญหาของไทยที่ยังขาดบุคคลากรที่มีความพร้อมในด้านทักษะที่เพียงพอ ตลอดจนปัญหาด้านต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ยังสูงและกฎหมายที่ล้าสมัยไม่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุน สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องแก้ไข อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยมีจีดีพีเติบโตเฉลี่ย 2% ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพและไม่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น ในระยะกลางและระยะยาว เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลต้องวางกลยุทธ์สำหรับประเทศ เพื่อทำให้จีดีพีของไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 3-5% ต่อปี

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จะต้องตั้งรัฐบาลให้เสร็จภายใน 1 เดือน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศ โดยสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ คือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเร่งด่วนประกอบด้วย

การช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยหลัก ๆ มาจากต้นทุนที่สูงขึ้นในทุกอย่าง ทั้งวัตถุดิบ ราคาพลังงาน ค่าไฟและน้ำมัน รวมถึงค่าแรงที่กำลังจะปรับขึ้น 400 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 ต.ค. 2567  รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่อง เนื่องจากในปัจจุบันเอสเอ็มอีกำลังขาดออกซิเจน คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หลายธนาคารได้ประกาศลดเป้าหมายของการปล่อยสินเชื่อ และมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเม็ดเงินที่จะปล่อยได้ถูกจำกัดและลดลงไปอีก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการที่มหาศาล รัฐบาลต้องหาเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเติมเงินเข้าไปให้เอสเอ็มอีได้เข้าถึงแหล่งเงิน ที่นอกจากธนาคารพาณิชย์แล้วจะต้องมีกลไกอื่นมาเติมให้สู้ต่อไปได้

นอกจากนี้สินค้าราคาถูกต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาด  จนท่วมตลาดทั้งในไทยและภูมิภาค ส่งผลให้เอสเอ็มอีไทยแข่งขันไม่ได้ จนต้องปิดกิจการมากมาย เหมือนช่วง 6 เดือน ม.ค.-พ.ค. 2567 ปิดกิจการกว่า 667 แห่ง ซึ่งอยากให้รัฐเข้ามาช่วยดูแลมากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img