วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightHow to ‘บริหารกระแสเงินสด’ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

How to ‘บริหารกระแสเงินสด’ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

การกลับมาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจหลายภาคส่วน โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี (SMEs) นอกจากจะต้องปรับแผนธุรกิจ ปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเพื่อการอยู่รอดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ SMEs ควรให้ความสำคัญอย่างมาก คือ การบริหารจัดการกระแสเงินสด

เพราะเมื่อธุรกิจได้รับผลกระทบจากการโควิด-19 กระทบต่อเนื่องสู่หลายภาคส่วน ส่งผลต่อภาคการขายสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้า ทำให้ SMEs เจอปัญหาการบริหารกระแสเงินสดและความสามารถในการชำระหนี้ โดยจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ร้อยละ 33 ของ SME ทั้งหมดประสบปัญหาขาดทุน และร้อยละ 20 ของ SME ที่ประสบภาวะขาดทุนนั้นได้ปิดกิจการลง ชัดเจนว่า วิกฤตโควิด ทำให้ SMEs เห็นความสำคัญของกระแสเงินสดมากขึ้น

สอดคล้องกับผลสำรวจ ASEAN SME Transformation Study 2020 โดยธนาคารยูโอบี ร่วมกับแอคเซนเจอร์ และดันแอนด์แบรดสตรีท ที่ได้สำรวจความคิดเห็นของเอสเอ็มอีในอาเซียนกว่า 1,000 ราย ที่ชี้ว่า ความกังวลอันดับแรกของ SMEs ในช่วงวิกฤตโควิดนี้คือ การรักษากระแสเงินสด เพราะ 9 ใน 10 ต้องการเงินทุนจากธนาคารมากขึ้น เพื่อนำเงินทุนส่วนนี้ไปเพิ่มเงินทุนหมุนวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อได้ (ร้อยละ 64) และเพื่อเสริมสภาพคล่อง หลังประสบปัญหาลูกค้าชำระเงินล่าช้า (ร้อยละ 52)

เมื่อกระแสเงินสด กลายเป็นโฟกัส ทำให้ SMEs ทั่วทั้งอาเซียน ต่างมองหาวิธีในการบริหารกระแสเงินสด เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง โดยร้อยละ 81 เลือกลงทุนด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ

ร้อยละ 75 จะติดต่อธนาคารเพื่อขอพักชำระหนี้ผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และต่อรองเงื่อนไขการชำระเงินหรือสัญญา และ ร้อยละ 73 ต้องการเพิ่มทุนผ่านโปรแกรมความช่วยเหลือด้านการเงินในช่วงโควิด

นอกจากที่กล่าวมา คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเอสเอ็มอีในการบริหารกระแสเงินสดในช่วงเวลานี้…คือ

ให้เทคโนโลยีช่วยบริหาร cash flow และค่าใช้จ่าย

SMEs ตระหนักแล้วว่า ดิจิทัลโซลูชัน จะป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดและแข่งขันได้ในระยะยาว หากดู SMEs ไทยกว่าร้อยละ 71 ต้องการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก แม้รายได้จากธุรกิจจะลดลงก็ตาม โดยโซลูชันที่นำมาใช้ต้องตอบโจทย์ธุรกิจ ช่วยปรับโมเดล เปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหลังบ้าน จนถึงเพิ่มยอดขายและทำการตลาด รวมไปถึงโซลูชันที่ช่วยบริหารจัดการเงินสด

จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่ก่อปัญหาด้านกระแสเงินสด คือการชำระเงินล่าช้า ซึ่งอาจจะมาจากความล่าช้าในการจ่ายเงินของลูกค้า หรือขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้ ที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เราอาจจะไม่สามารถควบคุมฝั่งลูกค้าได้ แต่ที่เราจัดการได้แน่นอนคือการบริหารขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้จากฝั่งเราเอง ซึ่งอาจจะถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในเทคโนโลยีและโซลูชันทางธุรกิจที่จะมาช่วยจัดงานระบบหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บัญชีเงินเดือน การทำบัญชี การบริหารสินค้าคงคลังและอื่นๆ โดยยูโอบี บิสสมาร์ท (UOB Biz Smart) เป็นหนึ่งในโซลูชันที่รวมการทำงานทุกส่วนของธุรกิจ เช่น ระบบจัดการข้อมูลพนักงานและจ่ายเงินเดือนอัตโนมัติ การทำบัญชี การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) และสินค้าคงเหลือ(Inventory) นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อบัญชีธนาคารยูโอบีโดยตรง เรียกดูยอดธุรกรรมต่างๆ อาทิ ยอดการชำระเงินจากซัพพลายเออร์ และยอดขายรายวัน ซึ่งสามารถช่วยผู้ประกอบการในจุดนี้ได้

บริหารงบดุล เพื่อลดความต้องการเงินทุนหมุนเวียน

เน้นที่งบดุลแทนรายได้ในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบของเงินทุนหมุนเวียน ทั้งในส่วนของเจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ แทนที่จะสนใจองค์ประกอบเดียว เพื่อลดความต้องการเงินทุนหมุนเวียน นอกจากนี้ อาจจะพิจารณาขายหรือให้เช่าสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้หรือก่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้า เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นทุน จะทำให้มีเงินอัดฉีดเข้ามาในทันที

ทบทวนแผนการลงทุน

จากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและการประเมินกระแสเงินสดที่มีในขณะนี้ SMEs ควรจะพิจารณาความจำเป็นของการลงทุนต่างๆ อันไหนจำเป็นต้องลงทุนในระยะเวลาอันใกล้ หรือจำเป็นต้องลงทุนตอนนี้ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงควรพิจารณาว่าการลงทุนใดที่สามารถเลื่อนออกไปได้ก่อนและรอจังหวะที่จะทำเมื่อสถานการณ์ต่างๆและเศรษฐกิจดีขึ้นเท่านั้น

มองหาการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร

ทั้งภาครัฐและสถาบันการเงินต่างออกมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เราขอแนะนำให้เอสเอ็มอีติดต่อธนาคาร เพื่อขอคำปรึกษาด้านเงินทุนที่เหมาะกับธุรกิจ ซึ่งแต่ละรายอาจมีความต่างกันไปตามความต้องการและประเภทของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นขอพักชำระหนี้ ปรับเงื่อนไขการชำระเงิน รวมถึงอาจได้รับเงินทุนจากโครงการอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ สำคัญคืออย่ากลัวที่จะติดต่อธนาคารเพื่อพูดคุย ขอคำปรึกษา จนปล่อยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปไม่ได้

นับตั้งแต่เกิดวิกฤต ยูโอบีได้ทำการติดต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อพูดคุย เสนอความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและติดตามเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของลูกค้าต้องไม่สะดุด นอกจากเรื่องเงินทุน ยูโอบียังช่วยเอสเอ็มอีในเรื่องการปรับใช้ดิจิทัลโซลูชันเพื่อช่วยลูกค้าจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับผลสำรวจที่ชี้ให้เห็นว่านอกเหนือจากเรื่องเงินทุน ธุรกิจเอสเอ็มอีในอาเซียนมองธนาคารเป็น ecosystem partner ที่จะช่วยธุรกิจให้ผ่านวิกฤตโควิดและค้นหาโอกาสในการเติบโตใหม่ๆ ทางธุรกิจได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img