วันเสาร์, กันยายน 21, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค”เดือนส.ค.วูบ ต่ำสุดรอบ13เดือน-ลุ้น“เงินหมื่น”กระตุ้น!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค”เดือนส.ค.วูบ ต่ำสุดรอบ13เดือน-ลุ้น“เงินหมื่น”กระตุ้น!

“ธนวรรธน์” เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. ต่ำสุดในรอบ 13 เดือนกังวลภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ระบุแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ หนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.6-2.8% แต่ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียง 2.4-2.6%

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดืมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนสิงหาคม 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา

เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า เพราะยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนของรัฐบาลใหม่ ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น และผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจไทย

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย


ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 50.2 53.9 และ 65.6 ตามลำดับ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกรกฎาคม ที่อยู่ในระดับ 51.3 54.9 และ 66.8 ตามลำดับ การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 57.7 เป็น 56.5 เป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 41.5 เป็น 40.4

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 65.4 มาอยู่ที่ระดับ 64.3 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ทุกรายการ แสดงว่า ผู้บริโภคเริ่มไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ แม้ว่าสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเริ่มมีเสถียรภาพในมุมมองของผู้บริโภค เนื่องจากประชาชนยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคตอันใกล้ หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในปลายไตรมาสที่ 3 ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งน่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 2.6-2.8% ในปีนี้ แต่ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียง 2.4-2.6%

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img