วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightแข่งเดือด'เวอร์ชวลแบงก์'!สถาบันการเงิน ยื่นขอไลเซนส์ช่วยรายย่อยเข้าถึงเงินทุน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แข่งเดือด’เวอร์ชวลแบงก์’!สถาบันการเงิน ยื่นขอไลเซนส์ช่วยรายย่อยเข้าถึงเงินทุน

“ผยง”จับมือพันธมิตรยื่นขอไลเซนส์เวอร์ชวลแบงก์กับธปท.เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ “ชาติศิริ” เผย 19 ก.ย.นี้ได้ข้อสรุปชัดเจนยื่นหรือไม่ หวังรายย่อยเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มขึ้น

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยความคืบหน้าการยื่นขอใบอนุญาต หรือไลเซนส์ เวอร์ชวลแบงก์ว่า กลุ่มพันธมิตรธนาคารกรุงไทย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC บริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และกรุงไทยได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจเวอร์ชวลแบงก์ กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรียบร้อยแล้ว แต่จัดตั้งบริษัทร่วมทุนต้องรอความชัดเจนการใบอนุญาต จากธปท. ที่ชัดเจนก่อน โดยเชื่อว่าจุดแข็งของกลุ่มนี้จะสามารถตอบโจทย์รัฐบาลใน การบูรณาการโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ที่สามารถตอบโจทย์ ผู้ให้บริการทางการเงินในระบบ แต่อาจยังได้รับบริการที่ไม่เพียงพอ (underserved) และ กลุ่มที่เข้าไม่ถึงผู้ให้บริการในระบบเพราะติดอุปสรรค (unserved) ที่กลุ่มนี้ จำเป็นที่ต้องใช้ทั้งเทคโนโลยี และ Beyond Banking และอีโคซิสเต็ม ในการเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า เวอร์ชวลแบงก์ ถือเป็นเป้าหมายของธปท. ที่ต้องการให้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

สำหรับกรณีที่ธนาคารกรุงเทพ จะร่วมมือกับกลุ่ม “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง” (BTS) โดยให้บริษัทลูก บมจ. วีจีไอ หรือ VGI ในการยื่นขอใบอนุญาต หรือ ไลเซนส์ เวอร์ชวลแบงก์ หรือไม่นั้น ให้ติดตามความชัดเจนภายในวันที่ 19 ก.ย. 2567 ที่จะถึงกำหนดในการปิดยื่นขอใบอนุญาต เวอร์ชวลแบงก์ จากธปท.

ด้านเวอร์ชวลแบงก์ ถือเป็นลูกค้าคนละกลุ่มกับที่ธนาคารกรุงเทพดูแลอยู่หรือไม่นั้น มองได้ทั้งสองมุม เพราะการเข้าถึงความรู้ทางการเงินและดิจิทัลเป็นพื้นฐาน และเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ด้วย ดังนั้น ถือเป็นทั้งกลุ่มเป้าหมายของธนาคารที่ต้องปรับปรุงตัวเอง และทรานส์ฟอร์มธนาคารในการทำสิ่งเหล่านี้มากขึ้น

ส่วนการลงทุนด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับธนาคารในการให้บริการบนดิจิทัล ปัจจุบันธนาคารก็มีการลงทุนด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยออกมาแล้วมี2 กลุ่มทุนที่จะยื่นขอไลเซนส์ เวอร์ชวลแบงก์ ประกอบด้วย บมจ.เอสซีบี เอกซ์” (SCB) ที่มีพันธมิตรใหญ่ “WeBank” ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน และ KakaoBank ธนาคารยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ โดย “เอสซีบี เอกซ์” ถือว่ามีจุดแข็งไม่น้อย และเป็นอีกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการประกอบธุรกิจ เวอร์ชวลแบงก์ โดยเฉพาะแล้วยิ่งรวมตัวกับ “KAKAO Bank” และ WeBank ธนาคารดิจิทัลอันดับหนึ่งในจีน ยิ่งทำให้ “เอสซีบี เอกซ์” มีความได้เปรียบในการแข่งขันครั้งนี้

ขณะที่กลุ่มแอสเซนด์ มันนี่ ผู้ให้บริการอีวอลเล็ต ภายใต้ชื่อ ทรูมันนี่ กลุ่มบริษัทในเครือของเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) จับมือ แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ซึ่งเป็นผู้นำในฟินเทค เป็นบริษัทลูกของอาลีบาบา (Alibaba) จากจีน

โดยการยื่นไลเซนส์ครั้งนี้อาจนำโดยทรู ที่ถือเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในไทย ด้วยการมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการทั้งผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต เคเบิ้ลทีวี ที่รวมแล้วครองฐานลูกค้าจำนวนมาก ทำให้ ทรู มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเข้ามาดำเนินธุรกิจนี้ได้ไม่ยาก เช่นเดียวกับรายก่อนๆ หน้านี้

ไม่เพียงเท่านั้น ปัจจุบันทรูเอง ยังให้บริการบนดิจิทัลผ่าน “True Money ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย ที่มีฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย ภายใต้ “ทรู” เอง ยังอุดมไปด้วยพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทั้งจากในและต่างประเทศ ที่ในอนาคต “ทรู” อาจดึงเข้ามาร่วมวงในการทำ เวอร์ชวลแบงก์ ได้ ดังนั้น หากดูด้านความพร้อมกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่น่าจับตามองอย่างมาก ที่มีทั้งความพร้อมในการทำระบบชำระเงินออนไลน์และมีอีโคซิสเต็มทางการเงินที่แข็งแกร่งอย่างมาก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img