วันจันทร์, มีนาคม 31, 2025
หน้าแรกHighlight''พลังงาน''จ่อชงครม.ขยายเวลาตรึงดีเซลไม่เกินลิตรละ 33 บาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”พลังงาน”จ่อชงครม.ขยายเวลาตรึงดีเซลไม่เกินลิตรละ 33 บาท

กระทรวงพลังงานเตรียมชงครม.อนุมัติตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาทต่อลิตรออกไปถึงสิ้นปีนี้ หลังจากสิ้นสุดมาตรการ 31 ต.ค.นี้ ขณะที่กองทุนฯ ต้องควักเงินจ่ายคืนเงินต้นงวดแรก 100 กว่าล้านบาทในเดือนพ.ย.นี้

รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงานแจ้งว่า กระทรวงฯ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาทบทวนราคาน้ำมันดีเซลอีกครั้ง เนื่องจากจะสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาทต่อลิตร ในวันที่ 31 ต.ค. 2567 ซึ่งหาก ครม. ไม่พิจารณาต่ออายุมาตรการตรึงราคาดีเซลที่ 33 บาทต่อลิตร จะส่งผลให้ราคาดีเซลต้องเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ในอนาคตหากราคาน้ำมันโลกปรับสูงขึ้นอาจทำให้ราคาดีเซลในไทยสูงเกิน 33 บาทต่อลิตรได้

สำหรับแนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ คือ 1. ครม. ต่ออายุมาตรการตรึงราคาดีเซลที่ 33 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นปี นี้  2. ครม. ไม่ประกาศตรึงราคาดีเซล แต่กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ บริหารจัดการดูแลราคาดีเซลเอง แต่แนะนำว่าไม่ควรให้ราคาจำหน่ายเกิน 33 บาทต่อลิตร และ3. ครม. ปรับลดเพดานราคาดีเซลสูงสุดลงเหลือไม่เกิน 32 บาทต่อลิตร เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มเห็นว่าราคาดีเซลปัจจุบันแพงเกินไป

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาต้องดูฐานะเงินกองทุนน้ำมันฯ และการใช้คืนหนี้เงินต้นให้สถาบันการเงินที่จะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย. นี้เป็นต้นไป โดยปัจจุบันราคาน้ำมันโลกปรับลดลง ส่งผลดีต่อกองทุนฯ ให้สามารถเก็บเงินเข้าได้มากขึ้น เพื่อเตรียมชำระหนี้ให้สถาบันการเงินว 

นอกจากนี้ หาก ครม. ปรับลดเพดานราคาดีเซลลงเหลือ 32 บาทต่อลิตร จะส่งผลให้กองทุนฯ มีเงินไหลเข้าลดลงจากปัจจุบันเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนฯ อยู่ 1.66 บาทต่อลิตร จะเหลือเพียง 66 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปี 68 จะต้องใช้หนี้ธนาคารเพิ่มขึ้นทุกเดือนจากระดับกว่า 250 ล้านบาท ขึ้นไปถึง 3,000 ล้านบาท ตามภาระการกู้ยืมที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนฯ อาจเหลือเงินไม่เพียงพอชำระหนี้เงินต้นได้

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 67 ให้คงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 31 ต.ค. 67  โดยราคาดีเซลปัจจุบันอยู่ที่ลิตรละ 32.94 บาท

ล่าสุด ณ วันที่ 17 ต.ค.67 มีการนำส่งเงินในส่วนของน้ำมันเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวันละ 148 ล้านบาท ดีเซลนำส่งเงินเข้ากองทุนวันละ 142 ล้านบาท ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หรือก๊าซหุงต้มวันละ 2.35 ล้านบาท ทำให้สุทธิกองทุนมีเงินไหลเข้าวันละประมาณ 293 ล้านบาท ส่งผลให้สถานะกองทุนติดลบน้อยลง โดย ณ วันที่ 13 ต.ค.67 กองทุนติดลบ 95,333 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 47,885 ล้านบาท และ เป็นบัญชีก๊าซหุงต้ม (LPG) ติดลบ 47,448 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นเดือนพ.ย.67 นี้ กองทุนฯ ต้องเริ่มชำระคืนเงินต้นงวดแรก 100 กว่าล้านบาท จากยอดเงินกู้ก้อนแรก 5,000 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศก่อนหน้านี้ ที่มีกำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 67  

โดยหากรวมกับดอกเบี้ยที่ต้องชำระเดือนละประมาณ 250 ล้านบาท รวมกองทุน ต้องหาเงินชำระ ต้องมีเงินในการบริหารจัดการการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยในเดือนพ.ย.นี้ รวมประมาณ 400-500 ล้านบาท ส่วนการชำระคืนเงินกู้ที่เหลือจากเงินกู้ทั้งสิ้น 1.1 แสนล้านบาท จะแบ่งชำระคืนตามสัญญาที่กำหนดไว้

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img