สศช.ประเมินนโยบาย”ทรัมป์” หลังนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ คาดออกมาตรการกีดกันทางการค้าผ่าน 4 แนวทาง แนะผู้ประกอบการไทยเตรียมรับมือความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
รายงานข่าวจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)แจ้งว่า หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพลับรีกัน และเตรียมสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.ปี 2568 ทำให้เกิดความกังวลว่ามาตรการการกีดกันการค้าของสหรัฐฯจะมีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย โดยสศช.คาดว่า แนวทางการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ จะสามารถดำเนินการได้ผ่าน 4 แนวทาง ประกอบด้วย
1.การดำเนินการผ่านมาตรการ 201 แห่ง พ.ร.บ. การค้า 2517 (Setion 201 of the Tract. 1974) ว่าด้วยการกำหนดการปกป้องภายในประเทศเป็นการชั่วคราว เช่น การเพิ่มภาษีนำเข้า เมื่อมีการนำเข้าสินค้าจ้านวนมากที่เป็นสาเหตสำคัญของความเสียหายร้ายร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ (Safeguard) โดยมีผู้รับผิดชอบ คือ คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ (U.S. Internal Trade Commission: ITC) ในหน่วยงานอิสระภายใต้รัฐบาลกลาง
2.การดำเนินการผ่านมาตรา 232 (Section 232 of the Trade Expansion Act of 1962) ว่าด้วยการจัดการกับการละเมิดข้อตกลงการค้า หรือแนวปฏิบัติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้ที่รับผิดชอบคือ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ซึ่ง 2 ช่องทางนี้ถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
3.การดำเมินการผ่านมาตรการ 301 ว่าด้วยมาตรการจัดการกับการละเมิดข้อตกลงการค้า หรือการกระทำนโยบาย ที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ โดยหน่วยงานผู้รับผิดขอบ คือ สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (United States Trade Representative: USTR)
4.การออกกฎหมายเพื่อยกเลิกหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment : MFN) ซึ่งถือเป็นการดำเมินการที่ท้าทายต่อระบบการค้าระทว่างประเทศโดยรวม โดยช่องทางการออกกฎหมายดังกล่าวนี้เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัติบัญญัติของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม กรณีทั่วไปคาดว่ากระบวนการในการดำเนินการในการขึ้นภาษีสินนำเข้าสินค้าจากจีน และประเทศอื่นๆ ทั้ง 4 แนวทางจำเป็นต้องใช้ระเวลาในการดำเนินการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนจะมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลผลจากการดำเนินนโยบายกีดกันทางทางการค้าของสหรัฐฯ ในอดีตภายได้การบริหารงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ระหว่างปี 60-63 ต่อการค้าระทว่างประเทศของจีนพบว่า จีนมีทิศทางการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งทำให้เห็นดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลงในช่วงดังกล่าว จากที่เคยเกินดุล 4.18 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 61 ลดลงมาอยู่ที่ 3.1 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 63 และ 2.8 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 66
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดนำเข้าของสหรัฐฯในปี 66 ซึ่งพบว่าเม็กชิโกกลายเป็นตลาดนำเข้าอันดับ 1 ของสหรัฐฯ แทนจีน โดยเม็กซิโกมีการนำเข้าสูงกว่าการนำเข้าจากจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 21 ปี ทำให้เม็กซิโกมีส่วน 15.4% ต่อการนำเข้ารวมของสหรัฐฯ ขณะที่จีนมีสัดส่วน 13.9% ต่อการนำเข้ารวมของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากสัดส่วน 21.6 ในปี 60 ขณะที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนการนำเข้าจากไทยยู่ที่1.8% ในปี 66 เพิ่มขึ้นจาก 1.3% ในปี 60
โดยเห็นว่าความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้นจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มของการค้าโลกที่จะหดตัวลงจากนโยบายกีดกันการค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่ประเทศซึ่งพึ่งพาการส่งออกอย่างไทยจะต้องเตรียมการรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ภาคเอกชนที่ทำธุรกิจส่งออกต้องเตรียมรับมือผลกระทบด้วยการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย