วันพฤหัสบดี, เมษายน 3, 2025
หน้าแรกHighlightเช้าเปิดตลาด‘เงินบาทแข็ง’ทุบนิวไฮใหม่ จับตาเงินเฟ้อCPIของสหรัฐฯเดือนพ.ย.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เช้าเปิดตลาด‘เงินบาทแข็ง’ทุบนิวไฮใหม่ จับตาเงินเฟ้อCPIของสหรัฐฯเดือนพ.ย.นี้

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ ที่ระดับ 33.72 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” ทุบนิวไฮใหม่ ตลาดคาดเฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ยในการประชุม FOMC เดือนธ.ค.นี้ จับตาเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.นี้

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.72 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่ระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ได้ทยอยแข็งค่าขึ้น ในลักษณะ Sideways Down (กรอบการเคลื่อนไหว 33.65-33.85 บาทต่อดอลลาร์)

โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันบ้าง ตามการทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ แม้ว่าผู้เล่นในตลาดจะให้โอกาสเฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ยในการประชุม FOMC เดือนธันวาคมนี้ประมาณ 86% โดยในปีหน้าผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยไม่ถึง 3 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าที่เฟดได้เคยระบุไว้ใน Dot Plot เดือนกันยายน และเฟดอาจจบรอบการลดดอกเบี้ยในปี 68 ได้

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯดังกล่าวยังได้กดดันให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) พลิกกลับมาอ่อนค่าลงทะลุโซน 151.50 เยนต่อดอลลาร์ ตามส่วนต่างบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯกับญี่ปุ่นที่กว้างมากขึ้น และเป็นอีกปัจจัยที่หนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เงินบาทยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง หลังราคาทองคำ (XAUUSD) ทยอยปรับตัวขึ้นเข้าใกล้โซนแนวต้าน 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นอกจากนี้เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทหลังจากทะลุโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ อาจได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการทยอยปิดสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) ของผู้เล่นในตลาดบางส่วนได้

บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัว หลังผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ อนึ่ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่ม Semiconductor อาทิ Nvidia -2.7% จากรายงานข่าวว่า ทางการจีนได้เริ่มสอบสวนกรณีที่ Nvidia อาจละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของจีน อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้างจากหุ้นเทคฯใหญ่ อาทิ Alphabet +5.6% ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.30%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลง -0.52% กดดันโดยหุ้นธีม China Recovery อย่าง หุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม LVMH -2.5%, Hermes -1.9% หลังรายงานข้อมูลการส่งออกและนำเข้าของจีนล่าสุดออกมาน่าผิดหวัง นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอจับตาสถานการณ์การเมืองของฝรั่งเศส

ในฝั่งตลาดบอนด์นั้นพบว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯทยอยปรับตัวสูงขึ้น และแกว่งตัวเหนือโซน 4.20% หลังผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ อีกทั้งผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า แม้เฟดจะเดินหน้าลดดอกเบี้ยลงต่อได้ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ทว่าในปีหน้าเฟดก็อาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่เคยระบุไว้ใน Dot Plot เดือนกันยายนพอสมควร อนึ่งแม้บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯอาจเคลื่อนไหวผันผวนในช่วงนี้ แต่เราคงมองว่า หากบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯสามารถทยอยปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ ก็อาจเป็นจังหวะในการทยอยเข้าซื้อ (Buy on Dip) บอนด์ระยะยาว เนื่องจาก Risk-Reward ของผลตอบแทนรวม (Total Return) ของบอนด์ระยะยาวนั้นยังมีความน่าสนใจอยู่

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้น เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้น หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลงต่อเนื่องทะลุโซน 151.50 เยนต่อดอลลาร์ ตามส่วนต่างบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นที่กว้างมากขึ้น ทั้งนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ก็ถูกชะลอลงบ้าง ตามแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้โซน 106.4 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 105.8-106.6 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ

แม้ว่าทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯจะมีจังหวะปรับตัวขึ้น อีกทั้งสถานการณ์ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อาจดูไม่น่ากังวลมากนัก แต่ทว่า ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.2025) ยังพอได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก และรายงานข่าวว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ทยอยกลับเข้าซื้อทองคำเพิ่มเติม ส่งผลให้ราคาทองคำทยอยปรับตัวขึ้นสู่โซน 2,720-2,730 ดอลลาร์

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยเฉพาะในการประชุม FOMC เดือนธันวาคมนี้ได้ นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานยอดสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ โดย EIA ที่มักจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในระยะสั้น

ฝั่งไทยผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนพฤศจิกายน ที่มีแนวโน้มทยอยปรับตัวดีขึ้น หนุนโดยการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท อาจเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways แถวโซน 33.60-33.80 บาทต่อดอลลาร์ ไปก่อน ในช่วงระหว่างวัน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯที่จะทยอยรับรู้ในช่วง 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

โดยประเมินว่า หากอัตราเงินเฟ้อ CPI ออกมาตามที่ตลาดคาด เช่น +0.3%m/m ทั้งในส่วนของ Headline CPI และ Core CPI ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า เฟดจะสามารถเดินหน้าลดดอกเบี้ยลงต่อได้ในการประชุม FOMC เดือนธันวาคมนี้ ซึ่งอาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯแกว่งตัว sideways ใกล้ระดับก่อนที่จะรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าวได้ (เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟดไปพอสมควรแล้ว almost fully priced-in)

ขณะที่ หากอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯชะลอลงมากกว่าคาด (โอกาสเกิดน้อย) เช่น +0.2%m/m หรือน้อยกว่านั้น (ยิ่งมีโอกาสเกิดน้อยมาก) ก็อาจเห็นผู้เล่นในตลาดมั่นใจมากขึ้น ว่าเฟดจะเดินหน้าลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมเดือนธันวาคม และอาจเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ยราว 3 ครั้งในปี 2025 ได้ ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ มีโอกาสย่อตัวลงบ้าง หนุนทั้งราคาทองคำและเงินบาท

ทว่า หากอัตราเงินเฟ้อ CPI ออกมาสูงกว่าคาด เช่น +0.35% ขึ้นไป (หรือมีการปัดเศษให้ถึงระดับดังกล่าว) จะส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดใหม่ และมีโอกาสที่ผู้เล่นในตลาดจะเริ่มมองว่า มีโอกาส 50-50 ที่เฟดจะเดินหน้าลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคม ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อาจปรับตัวขึ้นต่อพอสมควรได้ กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงหนัก ส่วนเงินบาทก็เสี่ยงอ่อนค่ากลับไปโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้

อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนของเงินบาท ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ เนื่องจากสถิติในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา สะท้อนว่า เงินบาท (USDTHB) สามารถแกว่งตัวเกือบ +0.5%/-0.4% ได้ในช่วง 30 นาที หลังรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าว

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.60-33.95 บาทต่อดอลลาร์ (ระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ) 

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img