วันจันทร์, มกราคม 27, 2025
หน้าแรกHighlightเปิดตลาดเช้านี้‘เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย’ จับตาผลประชุมเฟด-ธนาคารกลางยุโรป
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดตลาดเช้านี้‘เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย’ จับตาผลประชุมเฟด-ธนาคารกลางยุโรป

เงินบาทเปิดตลาดที่ 33.69 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยหลังรายงานดัชนี S&P Global PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ เดือนมกราคม ออกมาผสมผสาน จับตาประชุมเฟด-อีซีบี

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.68 นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.69 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ  33.62 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways (แกว่งตัวในกรอบ 33.54-33.70 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นเร็วตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ (XAUUSD) หลังรายงานดัชนี S&P Global PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯในเดือนมกราคมนั้นออกมาผสมผสาน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.1 จุด ดีกว่าคาด ทว่า ดัชนี PMI ภาคการบริการกลับปรับตัวลดลงสู่ระดับ 52.8 จุด แย่กว่าคาดไปมาก นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนเดือนมกราคม (U of Michigan Consumer Sentiment) ก็ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 71.1 จุด แย่กว่าคาดเช่นกัน อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินบาทก็เริ่มชะลอลงบ้าง และเงินบาททยอยพลิกกลับมาอ่อนค่าลง หลังเงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นบ้าง ส่วนราคาทองคำพลิกกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด

สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องมากกว่าที่เราประเมินไว้ หนุนโดยการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังผู้เล่นในตลาดทยอยคลายกังวลแนวโน้มการดำเนินโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำและแรงซื้อสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ

สำหรับในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรเตรียมรับมือความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟดและธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) โดยเราคาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.25%-4.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ หลังจากที่เฟดได้ส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งเรามองว่า เฟดอาจรอจับตาการดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ทั้งนี้ผู้เล่นในตลาดยังคงไม่เชื่อว่าเฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้ ตามที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด (เรายังคงมุมมองเดิมว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ 3 ครั้ง หรือ 75bps) ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น อัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนธันวาคม รวมถึงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2024 นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะ หุ้นเทคฯ ใหญ่ อย่าง กลุ่ม The Magnificent 7 (Tesla, Meta, Microsoft แลt Apple)

ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยเรามองว่า แนวโน้มการชะลอลงต่อเนื่องของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน ท่ามกลางความเสี่ยงด้านลบต่อเศรษฐกิจ หากรัฐบาล Trump 2.0 เดินหน้านโยบายกีดกันทางการค้า จะทำให้ ECB ตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) 25bps สู่ระดับ 2.75% ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของประธาน ECB ในช่วง Press Conference อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB ซึ่งล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า ECB จะเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง อีก 3 ครั้ง หรือ 75bps สู่ระดับ 2.00% ในปีนี้ ส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ จะอยู่ที่ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (IFO Business Climate) อัตราการเติบโตเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 4 รวมถึง อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectations) ที่สำรวจโดย ECB

ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Official Manufacturing & Services PMIs) เดือนมกราคม ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของกรุงโตเกียวในเดือนมกราคม รวมถึงยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือนธันวาคม เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นและทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลการดำเนินงานของบรรดาบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม แนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้า สำหรับแนวโน้มเงินบาท นั้น หากประเมินจากกลยุทธ์ Trend-Following เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้น หรือ อย่างน้อยแกว่งตัว Sideways ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนทะลุโซนแนวต้าน 34.10-34.20 บาทต่อดอลลาร์อย่างชัดเจน ทว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจชะลอลงบ้าง และเสี่ยงเผชิญความผันผวนลักษณะ Two-Way Volatility ซึ่งต้องจับตาผลการประชุมเฟดและECB รวมถึงการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจชะลอลงบ้าง ทำให้เงินบาทอาจแกว่งตัว Sideways ไปก่อน อย่างไรก็ดี เงินบาทเสี่ยงเผชิญความผันผวน Two-Way Volatility ขึ้นกับผลการประชุมเฟดและ ECB รวมถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 ทั้งนี้ ในเชิงกลยุทธ์ Trend-Following เงินบาทยังมีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้น หรือ อย่างน้อยแกว่งตัว Sideways ตราบใดที่เงินบาท (USDTHB) ยังไม่สามารถอ่อนค่าเหนือโซน 34.10-34.20 บาทต่อดอลลาร์ อย่างชัดเจน

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์เสี่ยงผันผวนในลักษณะ Two-Way Volatility โดยเงินดอลลาร์อาจรีบาวด์แข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากเฟดส่งสัญญาณชัดเจนไม่รีบลดดอกเบี้ย ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 ทว่า ต้องจับตาผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างใกล้ชิด โดยเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงได้ ตามการรีบาวด์แข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) ในกรณีที่ ECB ลดดอกเบี้ยตามคาด แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง หรือ ECB “เซอร์ไพรส์” ตลาดด้วยการคงดอกเบี้ย อนึ่ง เงินดอลลาร์อาจเผชิญแรงกดดันต่อได้ หากผู้เล่นในตลาดยังคงลดความกังวลต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 อีกทั้งบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะหุ้นเทคฯใหญ่ The Magnificent 7

เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward 

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.20-34.05 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วงโมงข้างหน้า คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50-33.75 บาท/ดอลลาร์.

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img