วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 11, 2025
หน้าแรกHighlight“บาทอ่อนค่าเล็กน้อย”กังวลผลกระทบ นโยบายกีดกันทางการค้า“ทรัมป์ 2.0”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“บาทอ่อนค่าเล็กน้อย”กังวลผลกระทบ นโยบายกีดกันทางการค้า“ทรัมป์ 2.0”

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.96 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” ความกังวลนโยบายกีดกันทางการค้า “ทรัมป์ 2.0” หนุนราคาทองคำ ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ทะลุโซน 2,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.96 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ที่ระดับ 33.91 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways (แกว่งตัวในกรอบ 33.82-33.97 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลผลกระทบจากการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ดังจะเห็นได้จากการพลิกกลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่องของบรรดาสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP)

อย่างไรก็ดี ความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงหนุนความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างทองคำส่งผลให้ราคาทองคำ (XAUUSD) สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (New All-Time High) ทะลุโซน 2,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำดังกล่าว ก็พอช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมา

แม้ว่าบรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯจะถูกกดดันจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ทว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังพอได้แรงหนุนจากการทยอยรีบาวด์ขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯใหญ่ อาทิ Nvidia +2.9% ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ออกมาสดใส ก็มีส่วนช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.67%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง +0.58% ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์อีกครั้ง หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นกลุ่มพลังงาน ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้ ขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มธีม AI/Semiconductor ก็รีบาวด์ขึ้นบ้าง อาทิ ASML +2.0% ทว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปก็ถูกจำกัด จากความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์นั้น บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways แถวโซน 4.50% หลังผู้เล่นในตลาดต่างรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะการแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินของสภาผู้แทนฯ ของประธานเฟด ก่อนที่จะปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด

ทั้งนี้เรายังคงมองเดิมว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ ขึ้นกับการปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งจะขึ้นกับการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อย่างอัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในสัปดาห์นี้ โดยเราคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรรอจังหวะทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว (เน้นกลยุทธ์ Buy on Dip) เพื่อให้ได้ Risk-Reward ที่มีความน่าสนใจและคุ้มค่า

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้นพบว่า เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้น ในลักษณะ Sideways Up ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งกดดันให้บรรดาสกุลเงินหลัก อาทิ เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ต่างอ่อนค่าลง ส่งผลให้โดยรวมเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นสู่โซน 108.3 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 108.1-108.4 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ ความต้องการถือครองทองคำ เพื่อรับมือความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯยังคงช่วยหนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. 2025) ทยอยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์แถวโซน 2,940-2,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจอาจมีไม่มากนัก ทว่า บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟดอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยล่าสุดบรรดาผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดมีโอกาสราว 55% ที่จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้ และมีโอกาสราว 86% ที่จะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง หรือ 25bps ในปีหน้า

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลางหลักเช่นกัน โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า ECB มีโอกาสราว 54% ที่จะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 4 ครั้ง หรือ 100bps ส่วน BOE ยังมีโอกาสราว 58% ที่จะลดดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง หรือ 75bps หลังทั้งสองธนาคารกลางได้ลดดอกเบี้ย 25bps ในการประชุมช่วงต้นปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน รวมถึงรอติดตามท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท การทยอยอ่อนค่าลงของเงินบาทในช่วงนี้ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ทำให้เราประเมินว่า เงินบาทมีความเสี่ยงกลับมาเป็นแนวโน้มทยอยอ่อนค่าลงต่อได้ไม่ยาก ตามกลยุทธ์ Trend Following หากเงินบาทสามารถอ่อนค่าลงทะลุโซนแนวต้าน 34.00-34.10 บาทต่อดอลลาร์ได้อย่างชัดเจน (สอดคล้องกับมุมมองล่าสุดของเราในบทวิเคราะห์เงินบาทเดือนกุมภาพันธ์ในวันก่อนหน้า) ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทยังเสี่ยงเผชิญความผันผวนในลักษณะ Two-Way Volatility ซึ่งจะขึ้นกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่สุดท้ายจะกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด

ทั้งนี้มองว่า ควรจับตาทิศทางราคาทองคำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการทยอยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมาได้ช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาทอย่างเห็นได้ชัด ทำให้หากราคาทองคำเริ่มย่อตัวลงบ้าง ก็อาจยิ่งกดดันให้เงินบาทเสี่ยงอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้ ซึ่งเรามองว่า ในเชิงเทคนิคัล ราคาทองคำก็เสี่ยงที่จะย่อตัวลงได้ไม่ยากในช่วงระยะสั้นนี้ หลัง RSI ได้เข้าสู่โซน Overbought มาอย่างต่อเนื่อง

หากเงินบาททยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่องทะลุโซนแนวต้าน 34.00-34.10 บาทต่อดอลลาร์ ได้อย่างชัดเจน จะเปิดโอกาสให้เงินบาทอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้านถัดไปช่วง 34.20 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก แต่หากเงินบาทยังไม่สามารถผ่านโซนแนวต้านได้ ก็อาจมีแนวรับแถวโซน 33.80-33.90 บาทต่อดอลลาร์ และยังคงมีโซน 33.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแนวรับสำคัญในช่วงนี้

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.85-34.10 บาท/ดอลลาร์

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img