ศบค.เคาะมาตรการ “ภูเก็ต แชนด์บ๊อกซ์” เปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดส ไม่ต้องกักตัว อยู่ภูเก็ตครบ 14 วันเดินทางไปพื้นที่อื่นได้ เริ่ม 1 ก.ค. และดึงดูดชาวต่างชาติเข้าประเทศเน้นใน 4 กลุ่มเป้าหมาย
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.64พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ผ่านระบบ Video Conference
โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำและปานกลางของจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) ตามข้อเสนอของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่จะมีกำหนดดำเนินการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยมีกำหนดแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว

ดังนี้ (1) เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสตามเกณฑ์ของวัคซีนแต่ละชนิด มีระยะเวลาการฉีดมากกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี และเป็นผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงต่ำ – ปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
(2) กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางเข้าได้ ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง 6 – 18 ปี จะต้องได้รับการตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินภูเก็ต
(3) มีเอกสารรับรองการฉีดจากประเทศต้นทาง โดยวัคซีนจะต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองโดย WHO
(4) มีการติดตั้งแอบพลิเคชันแจ้งเตือน
(5) พำนักในโรงแรมที่พักที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ ในเวลา 14 คืน และภายหลังการพำนักตามระยะเวลาที่กำหนดสามารถเดินทางไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทยได้
(6) รายงานตัวและรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสามารถทากิจกรรมท่องเที่ยวได้ภายใต้มาตรการป้องกันตามมาตรฐาน DMHTTA ขณะเดียวกัน มีการดาเนินการเตรียมพื้นที่รองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวภายใต้แผนการพัฒนาเมืองภูเก็ต (Better Phuket Initiatives) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ททท. นาเสนอรายละเอียดของแผนการดาเนินงานต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

นอกจากนั้นที่ประชุมยังให้ความเห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างรายได้ การลงทุน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย (1) กลุ่มประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) ซึ่งรวมถึงนักลงทุนที่มีกำลังซื้อสูงภายใต้โปรแกรม (Flexible Plus Program) (2) ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) (3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional) และ (4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-skilled professional)
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ หลายประการ ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทารายละเอียดของแผนการดาเนินงานด้านต่าง ๆ และนำเสนอ ศบศ. พิจารณาต่อไป