วันจันทร์, มีนาคม 31, 2025
หน้าแรกNEWS“กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ” เชิญ “หอการค้า-พณ.-กต.” แจงปมส่งกลับ “อุยกูร์” กระทบเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ” เชิญ “หอการค้า-พณ.-กต.” แจงปมส่งกลับ “อุยกูร์” กระทบเศรษฐกิจ

“กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ” เชิญ “หอการค้า-พณ.-กต.” แจงผลกระทบส่งกลับ “อุยกูร์” ทำเศรษฐกิจประเทศเสียหาย“ สิทธิพล” จี้ รัฐบาลทำความเข้าใจสหภาพยุโรป แนะกำหนดยุทธศาสตร์จริงจัง ถ้ายังหวัง FTA ผ่านภายในปีนี้ ด้าน “ตัวแทนหอการค้า” ยันไทยปฏิบัติตามแนวทาง UN ย้ำเป็นเรื่องปกติ ยก “อเมริกา-ยุโรป” ก็มีปัญหา

วันที่ 27 มี.ค.2568 เวลา 09.45 น.ที่รัฐสภา นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า ในฐานะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจติดตามผลกระทบนโยบายเศรษฐกิจและเศรษฐกิจด้านต่างๆซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปลง มติประนามประเทศไทยจะส่งจากผลกระทบที่ที่ส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน ซึ่งวันนี้ได้มีการเชิญกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหอการค้าและสมาพันธ์เอสเอ็มอี เพื่อมาสอบถาม  และรับทราบมุมมองว่าเหตุการณ์ส่งอุยกูร์กับบประเทศจีนผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะเบื้องต้นคาดว่ามีผลกระทบไม่มากก็น้อยในมิติการค้าระหว่างประเทศ ที่สหภาพยุโรปมีมติประนามไทย ซึ่งจะมีการสอบถามถึงผลกระทบต่อการทำข้อตกลง เช่น FTA ไทย-สหภาพยุโรป ที่เดิมรัฐบาลบอกว่าจะเสร็จในสิ้นปีนี้ จะมีการชะลอการลงนามหรือไม่

นายสิทธิพล กล่าวต่อว่ายังมีประเด็นที่ไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเข้าเป็นประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบด้วยหรือไม่ ความเสียหายนี้ รวมถึงจะส่งผลกระทบต่อกรณีที่ทางสหรัฐฯเตรียมออกบัญชีรายชื่อประเทศ ที่จะขึ้นภาษีอากรนำเข้าสินค้า ยังมีอีกเรื่องที่การค้าระหว่างไทยกับประเทศมุสลิม และการค้าระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมต่างๆจะมีผลกระทบอย่างไร

เมื่อถามว่ารัฐบาลระบุว่าได้เชิญทูตยุโรปมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว สามารถช่วยได้หรือไม่ นายสิทธิพล กล่าวว่า รัฐบาลพยายามทำให้ผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่การที่เราเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาในวันนี้ ก็จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และมองเห็นว่าปัจจุบันถึงขั้นตอนไหนแล้ว ส่วน OECD ไทยอาจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ยาก เพราะติดในเรื่องปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และทางประเทศกลุ่มยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพต่างๆก็คงต้องหารือกันว่า กลุ่มประเทศ OECD มองว่าการส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีนมีผลกระทบกับด้านสวัสดิภาพเขามากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำให้ทั่วโลกมั่นใจว่าไม่กระทบกับสิทธิเสรีภาพของชาวอุยกูร์

เมื่อถามว่าเรื่องการส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศควรจะต้องมีหน่วยงานไหนรับผิดชอบ นายสิทธิพล กล่าวว่า สมควรอย่างยิ่งแม้รัฐบาลจะพยายามย้ำว่าการส่งกลับชาวอุยกูร์ในครั้งนี้ พิจารณาอย่างรอบด้านแล้วและเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย แต่ในอนาคตผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในมิติเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สมควรที่รัฐบาลจะต้องเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะในสงครามการค้าที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าไม่มีเรื่องนี้ สงครามการค้าก็จะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง เพราะเราเป็นคู่ค้ากับสหรัฐฯในลำดับที่ 10 เราเกินดุลมาตลอด เราอยู่ในลิสต์อยู่แล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มมีแนวโน้มซ้ำเติมสงครามการค้าให้รุนแรงขึ้น

นายสิทธิพล ยังให้ข้อเสนอแนะกับเรื่องนี้ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์อย่างจริงจังทั้งในมิติของสงครามการค้าและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หาก FTA ไทย-สหภาพยุโรป ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในปีนี้ตามที่รัฐบาลคาดหวัง

ขณะที่บรรยากาศในห้องประชุม ตัวแทนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกังวลและสัญญาณที่เกิดขึ้น ว่า ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่ามีความมุ่งมั่นในการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในกลุ่มเอกชน ตั้งแต่มีปัญหาเรื่อง IUU เทียร์ 3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ได้จัดวงเสวนา มีตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจเข้ามาร่วม และจากที่ทราบ หน่วยงานเอกชนต่างๆของต่างประเทศไม่ได้มีข้อห่วงกังวลในเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่าไทยได้ทำตามแนวทางของสหประชาชาติมาโดยตลอด ซึ่งทางหัวหน้าส่วนของ IUU เอง เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบของประเทศในอาเซียนได้  และทางหอการค้ามั่นใจว่าสามารถตอบคำถามได้ทุกประเด็นได้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป หรือผู้ค้าด้วยกันเองก็ไม่ได้มีข้อสงสัยในประเด็นดังกล่าว

 “หลักการหอการค้าเรื่องอุยกูร์ ทำตามยูเอ็นแนะนำ ในการปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกประเทศ ก็มีสิทธิในการส่งชาวต่างด้าวกับประเทศเป็นปกติ ไม่ว่าที่อเมริกาหรือยุโรป เพราะในอเมริกาในวันนี้ก็มีหลายเคส ปัจจุบันทางยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส เป็นประเทศต้นแบบของสิทธิมนุษยชนก็มีปัญหากับประเทศอัลจีเรีย” ตัวแทนหอการค้ากล่าว

ตัวแทนหอการค้า ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้เดินตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ ในการปกป้องมนุษยชน ส่วนตัวมองว่าไม่ควรนำประเด็นนี้มาอยู่ในกรอบของข้อตกลงเสรีทางการค้า FTA เพราะยุโรปและไทย มีความต้องการในฐานเดียวกันใน ข้อตกลงเสรีทางการค้า 2 ฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอกชน และสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเมื่อคืนนี้ เพิ่งมีการประกาศภาษี 25%  ทำให้กระทบหนักมาก โดยเฉพาะเยอรมนี

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img