วันอังคาร, เมษายน 8, 2025
หน้าแรกHighlight‘ทรัมป์’รีดภาษีฉุดจีดีพีไทยร่วง0.2-0.6% กกร.จี้รัฐบาลให้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ทรัมป์’รีดภาษีฉุดจีดีพีไทยร่วง0.2-0.6% กกร.จี้รัฐบาลให้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

กกร.ประเมินนโยบาย “ทรัมป์” ขึ้นภาษีกระทบจีดีพี 0.2-0.6% จี้รัฐบาลปรับกรอบนโยบายให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ-เพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ-เร่งสร้างความเชื่อมั่นหลังเหตุแผ่นดินไหว

นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า นโยบายการค้าของสหรัฐยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะนโยบายที่กำลังประกาศใช้ คือ ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) และภาษีศุลกากรเฉพาะสินค้า (Specific Tariffs) ซึ่งคาดว่าจะกระทบประเทศคู่ค้าและสินค้าเป็นวงกว้าง จึงต้องจับตา ว่า จะกระทบส่งออกไทยเพียงใด

โดยไทยถือเป็นประเทศเป้าหมายหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนต่างอัตราภาษีศุลกากรและการเกินดุลกับสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมี ของไทย อาจเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากนโยบาย Reciprocal Tariffs ของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมผ่านคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง นอกจากนี้ ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาไทยอาจรุนแรงขึ้น รวมถึงสินค้าจากสหรัฐฯ ที่ไทยอาจต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นหลังการเจรจาการค้า

โดยเศรษฐกิจไทยเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้จีดีพีปี 2568 ต่ำกว่าที่เคยคาด จากกรอบประมาณการเดิมอยู่ในช่วง 2.4-2.9% ซึ่งได้คำนึงถึงผลกระทบบางส่วนจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ไว้แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนถึงขนาดและขอบเขตของมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนนี้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอีกราว 0.2-0.6% นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังอาจถูกกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตามนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวได้ช้าและเหตุการณ์แผ่นดินไหว

ดังนั้นไทยต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเร่งดำเนินการผ่าน 1.นโยบายระยะสั้น มุ่งลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนภายนอก ปรับกรอบนโยบายมหภาคให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และ 2. นโยบายระยะยาว มุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่าง ๆ และยกระดับขีดความสามารถภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกกร.ในวันนี้ยังคงกรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2568 (ณ เม.ย. 68) ปี 2568 ที่ GDP โต 2.4% ถึง 2.9% ส่งออกโด 1.5% ถึง 2.5% ส่วนเงินเฟ้อ 0.8% ถึง 1.2%

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้า กล่าวว่า ภาคเอกชนกังวล ภาษีศุลการกรตอบโต้ของสหรัฐ จะส่งผลให้สินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้าสู่ตลาดอาเซียนรวมถึงไทยมากขึ้น ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อการส่งออกของไทยและผู้ประกอบการไทยในทุกระดับต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยไทยและทั่วโลกยังคงจำเป็นต้องเฝ้าจับตาการประกาศนโยบายภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ ที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่ม 15 ประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้าด้วยเป็นหลัก ไทยจึงมีความเสี่ยงที่จะถูกขึ้นภาษี เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลำดับที่ 11 เพื่อป้องกันผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว ไทยเองควรพิจารณาเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหาร และพลังงาน เพื่อลดความกดดันด้านดุลการค้า

รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโควตาภาษีนำเข้าของไทยกับสหรัฐฯ ให้มีจุดยืนที่เป็นธรรมและสมดุล (Fair and Balance Position) ในการเจรจากับสหรัฐฯ สินค้าที่ควรนำเข้าจากสหรัฐ ได้แก่ 1.พืชอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง) 2. สินค้าอาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอนแช่แข็ง หอยเชลล์ และปลาทูน่าจากเรือชักธงสหรัฐฯ 3.สินค้าประเภทสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (Whisky & Wine) 4. เครื่องในสัตว์ เพื่อนำมาผลิตและแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ทำเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออก  โดยไทยเกินดุลการค้าสหรัฐในปีนี้ 4.6 หมื่นล้านบาท จากปี 67 อยู่ระดับที่ 3.4 หมื่นล้านบาท

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

จุดยืน!! “กาสิโน”

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img